การปรับปรุงนโยบายเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่บางกะเจ้า

Main Article Content

วิษณุพงษ์ สงวนสัจพงษ์
เพ็ญศรี ฉิรินัง
วรเดช จันทรศร
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อระบุปัญหาจากการดำเนินการตามนโยบายเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงนโยบายเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน 2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ และ 3) ประชาชนในพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามเชิงร้อยละ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยการออกกฎกระทรวงขึ้นมาบังคับใช้กับประชาชนและหน่วยงานราชการในพื้นที่ ย่อมเกิดปัญหาการจำกัดสิทธิบางประการของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 2) นโยบายเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ 3) การปรับปรุงนโยบายเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจำเป็นจะต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนรวมในการพิจารณากำหนดนโยบาย เพื่อรับทราบข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของประชาน โดยจะเป็นผลให้ เมื่อนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วจะลดผลกระทบเชิงลบกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดเกี่ยวกับการบริการสาธารณะแนวใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง. กำหนดให้พื้นที่ ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางกอบัว ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางยอตำบลบางกระสอบ และตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. (28 กุมภาพันธ์ 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 36 ตอนที่ 24 ก.

กฎกระทรวง. ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 .(5 กุมภาพันธ์ 2557). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่19 ก.

กรมการปกครอง. (2562). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2562. (31 ธันวาคม 2562). กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

กองทุนสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ. (2562). พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม NEW: สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กานดา จินดามงคล. (2558). การจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูนด้วยกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชน. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

พิทักษ์ “บางกะเจ้า”สู่ป่าเมืองใหญ่ที่สุดในเอเชีย. (2561). หนังสือพิมพ์ไทยโพส. ฉบับที่ 3 มีนาคม 2561.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมในยุทธศาสตร์การพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภณการพิมพ์.

สายทิพย์ สุคติพันธ์. (2534). ปัญหาผู้นำกับการกำหนดนโยบายแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2564). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

สำนักทะเบียนอำเภอพระประแดง. (2563). เรื่องจำนวนประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2563. (31 ธันวาคม 2562). สมุทรปราการ: ที่ว่าการอำเภอพระประแดง.

วริษฐ์ คำลือ.(2554). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดการเขตพื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติของอุทยานแห่งชาติแม่ตระไคร้ ตำบทแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: หนังสือในโครงการตำรา สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.

อนุสรณ์ สุวรรณสทิศกร. (2529). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสภาตำบลต่อโครงการ กสช. ปี 2526 อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

Best urban oasis of Asia. (2549). Time Best of Asia. Hong Kong: Time Asia.

Osbome, David & Gaebler, Ted. (1992). Reinverting Government. M.A.: Addison-Wesley Publishing Company.

Prewitt, Keneth & Verba, Sidney. (1983). An Introduction to American Government (4th ed). NY: Happer & Row, Publishers.