การจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมการพ่นทรายเหล็กเพื่อความเป็นเลิศขององค์การ

Main Article Content

ณัฎฐวัฒน์ จันทร์จงดี
วิพร เกตุแก้ว
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ
ชาญ ธาระวาส

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมพ่นทรายเหล็กเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในองค์การของผู้ประกอบการการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ในกระบวนการผลิตนั้นจะได้ทั้งผลผลิต และผลพลอยได้ และเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมเหล็กถูกจัดเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมพ่นทรายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเหล็กที่นับว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สามารถกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน มีการเติบโต เกิดความก้าวหน้าในการสร้างวัฒนธรรมเทคโนโลยีในประเภทต่าง ๆ และแนวทางการแก้ไขมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประชาชนโดยรอบ โดยอุตสาหกรรมเหล็กจะต้องมีการพ่นทรายเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานและคงทน เป็นกระบวนการขัดผิวชิ้นงานด้วยเครื่องพ่นทรายโดยมีแรงดันจากปั้มลมเป็นแรงขับเคลื่อนทรายไปกระทบผิวของชิ้นงาน ทำให้สามารถขัดชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว สะอาด เข้าถึงซอกมุมต่างๆ ดีกว่าการขัดด้วยมือหรือการเจียร์ การพ่นทรายสามารถเลือกผิวงานหยาบหรืองานละเอียดได้ตามความต้องการ โดยการเลือกขนาดของทรายที่ใช้ขัดผิวชิ้นงาน ในกระบวนการพ่นทรายทำให้เกิดปัญหามลสภาวะต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชนที่อาศัยใกล้เคียง ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการควรมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการจัดกการสิ่งแวดล้อมด้วยวงจรเดมมิ่ง ที่มุ่งกระบวนการ วางแผน การนำไปปฏิบัติ การตรวจสอบ และการดำเนินการ   2. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักธรมาภิบาล ที่เน้นการมีส่วนร่วม การปฏิบัติตามกฎหมาย และความรับผิดชอบต่อสังคม และ 3. ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ต้องจัดการด้านกลยุทธ์ โครงสร้างระบบ ทักษะ และค่านิยมร่วมการที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพ่นทรายเหล็กสามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ครบทั้ง 3 ด้านแล้วย่อมส่งผลให้เกิดความเป็นเลิศในองค์การ ซึ่งตั้งอยู่บนหลักของความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชน และองค์การ สามารถดำเนินธุรกิจให้เกิดการเติบโตร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558). คุณภาพน้ำทิ้ง. สืบค้น 1 กันยายน 2565, จาก http://local.environnet.in.th/formal_data2.php?id=623.

กานดา จินดามงคล. (2558). การจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาล ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ด้วยกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชน. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ร้านบลาสมาสเตอร์.(2565). ความรู้เรื่องการพ่นทราย. สืบค้น 1 กันยยานยน 2565, จาก http://www.thaisandblast.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538825416

เทียนชัย อร่ามหยก. (2564). รูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเครือบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 6(1). 86-99.

วิทยา อินทร์สอน. (2559). ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารอินดัสเตรียลเทคโนโลยีรีวิว, 22(285), 97-103.

เศรษฐภูมิ เถาชารี. (2558). การบริหารองค์กรด้วยวงจรเดมมิ่ง. วารสารอินดัสเตรียลเทคโนโลยีรีวิว, 21 (277), 98-104.

สุภนารถ โมฬีรัตตะกูล. (2557). การปรับโครงสร้างองค์การเพื่อรองรับการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคประชาคมอาเซียน+3 ตามกรอบแนวคิดของ Mckinsey ของธนาคารแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.