การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Main Article Content

ยุภาวรัตน์ ขันตีกรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 โดยจําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 370 คน ซึ่งใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ในการคํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษเขต 18 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้านอยู่ระดับมาก และ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่า ด้านวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

วัชระ มะรังศรี. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบสารเทศเพื่อการบริหารการศึกษา กลุ่มสารสนเทศ สนผ. (2565). จำนวนผู้บริหารและครูแยกตาม โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง. จาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2565-2567. เอกวสนหมายเลข 10/2564 กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี ระยอง. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะที่ 3 ปี พ.ศ.2564-2566 เล่มที่ 1/2564. จาก http://www.spm18.go.th/itaspm18/file/2486007112022062_120436.pdf.

อามีล รักชาติ. (2557). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอําเภอคูเมือง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1227-1237.

Candoli, I. C. (1992). School Business Administration: A Planning Approach. (4th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Punch, K. F. (1998). Introduction to social science Research: Quantitative and Qulitative Approach. London: SAGE Publications.

Smith, R. W. (1996). Participatory Decision-making, Job Satisfaction, and Teacher Absenteeism in Selected Florida middle School. [CD-ROM]. Abstract from: ProQuest-Dissertation Abstracts (Jan. 1994-Dec. 1996) / Item AAC9509215.