นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาในการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น การจัดการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมการบริหารงานวิชาการจึงเป็นภารกิจสำคัญและท้าทายผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งต้องบริหารอย่างเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการจัดการศึกษา การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ มีเทคนิค วิธีการ และรูปแบบการจัดการนวัตกรรมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งมีการศึกษาไว้หลากหลายแนวคิด เช่น แนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ คุณภาพภายใน ความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ สะเต็มศึกษา ประเทศไทย 4.0 สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แต่ละรูปแบบ สามารถวิเคราะห์นวัตกรรม ได้ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและ เทคโนโลยีการศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. (16 พฤษภาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก หน้า 29-30.
กนกพร แสนสุขสม. (2561). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แถลงข่าวการประเมิน PISA 2018. สืบค้น 3 เมษายน 64, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/news/
นันทกานต์ จิรังกรณ์ ธานี เกสทอง และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(2), 81-93.
พรนค์พิเชฐ แห่งหน และวันชัย ธรรมสัจการ. (2560). การจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,10(1), 919-935.
พระครูสังฆกิจจานุรักษ์ (สิริเชษฐ์พงษ์) และสุธาสินี แสงมุกดา. (2564). รูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(2), 131-145.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 4-12.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. (19 ธันวาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 19.
พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนา จันทร์รวม. (2560). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัสวดี ควรทรงธรรม. (2562). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรณู บุญเสรฐ. (2560). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสู่ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). จำนวนผู้เข้าสอบ และคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามสังกัด/กลุ่มโรงเรียน. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2563, จาก https://catalog.niets.or.th/dataset/it-16-01/resource/291209e4-4556-4572-b13a-0495173e1440
สมิทธ์ อุดมมะนะ (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการเรียนการสอนที่มีผลิตภาพสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สราวุฒิ กันเอี่ยม. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตรี สิทธิชัยกานต์ ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์สะเต็มศึกษาภาค. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 9(1), 17-32.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (16 ธันวาม 2563). เรื่องนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2562). รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวา กราฟฟิก.
สุชาติ ทองมา. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์ ณรงค์ พิมสาร และ สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต (2563). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 56-70.
สุภัชชา โพธิ์เงิน. (2562). นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย ไทยกรรณ์ สุขแก้ว คำสอน และเกรียงศักดิ์ สุวรรณวัจน์. (2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(1), 88-145.
Fry, H., Ketteridge, S. and Marshall, S. (2009) A Handbook for Teaching and Leaning in Higher Education. Enchancing Academic Practice. (3rd ed.). NY: Taylor & Francis.
Sergiovanni, Thomas J., Kelleher, P., McCarthy, Martha, M. and Wirt, Frederick M. (2004). Educational governance and administration. (5th ed.). Boston: Pearson/Allyn and Bacon.