การสื่อสารการตลาดด้วยแอปพลิเคชัน Line กับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อิสรี ไพเราะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารายละเอียด และลักษณะของการใช้แอปพลิเคชัน Lineของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 1) เพื่อศึกษารายละเอียด และลักษณะของการใช้แอปพลิเคชัน Lineของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแอปพลิเคชัน Lineที่มีผลต่อผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มของประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน งานวิจัยนี้จัดเก็บข้อมูลโดยศึกษาทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อการใช้แอปพลิเคชัน Line และพฤติกรรมผู้ของสูงอายุในด้านประชากรศาสตร์ และด้านลักษณะการใช้ ด้วยแบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยการอธิบาย และนำเสนอค่าความถี่ ค่าร้อย ในรูปแบบของตาราง และแผนภูมิ           


ผลการวิจัยพบว่า ด้านรายละเอียด และลักษณะของการใช้แอปพลิเคชัน Lineของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร มีการใช้อุปกรณ์ในการใช้งานเป็นสมาร์ทโฟน โดยมีจุดประสงค์การใช้งานเพื่อการสนทนา มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานประจำคือ Free call หรือ Video call และมีระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ยต่อวันตั้งแต่ 1-4 ชั่วโมง โดยมีรูปแบบเนื้อหาที่นิยมส่งต่อคือ รูปภาพที่มีข้อความ และด้านกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแอปพลิเคชัน Line ที่มีผลต่อผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่การเรียนรู้การใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ได้โดยง่าย มีความสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ได้คล่องแคล่ว มีเจตคติต่อการใช้งาน ด้านความเพลิดเพลินจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ มีการได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ มีพฤติกรรมการใช้งานจริง และจะใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ต่อไป โดยจะแนะนำให้เพื่อนหรือคนใกล้ตัวใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งใช้ประเภทรูปแบบของเนื้อหาเชิงการตลาดด้วยเนื้อหาข้อมูลรูปภาพ และใช้งานส่งวิดีโอที่เป็นเรื่องราวสั้นๆ เข้าใจง่าย สร้างแรงบันดาลใจ และมีการรับรู้ข้อมูลทางการตลาดด้วยกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ เลือกรับรู้เนื้อหาที่กำลังเป็นที่สนใจ ณ เวลานั้น มีการใช้อัลบั้มภาพโดยใช้รูปภาพพร้อมเนื้อหาบรรยายหลายภาพติดกัน และเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลและวันสำคัญในช่วงนั้น ซึ่งเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย เช่น โปรโมชั่นต่างๆ ใช้รูปภาพนำเสนอสินค้าและบริการ มีเปรียบเทียบสินค้าและบริการกับคู่แข่ง โดยรับรู้รูปภาพสินค้าและบริการ มีการแสดงความพึงพอใจจากการใช้สินค้าและบริการ  หรือความไม่มั่นใจในการใช้สินค้าและบริการ โดยการรับรู้ต้องเป็นวีดีโอที่ให้สาระ ความรู้ หรือเคล็ดลับดีๆ ด้วยวีดีโอสาธิตการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งทำให้เกิดความตระหนักหรือการรับรู้ต่อแบรนด์สินค้าและบริการ มีการนำเสนอภาพลักษณ์และจุดเด่นเพื่อสร้างความชื่นชมในตราสินค้า และสร้างการมีส่วนร่วมทำให้อยากส่งต่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภค ทางออนไลน์ที่มี ผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คนที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปะการจัดการ, 1, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) 75-88. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/138093

เฉลิมพล แจ่มจันทร์. (2555). มโนทัศน์ใหม่ของ “นิยามผู้สูงอายุ” และ “อายุเกษียณ” : ทำไมต้อง 60 ปี เปลี่ยนได้หรือไม่. แผนงานพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนามโนทัศน์ใหม่ของนิยาม ผู้สูงอายุ และอายุเกษียณที่เหมาะสมสำหรับคนไทย, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ชุลีกร เกษทอง. (2553). การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการในสังคมเครือข่ายออนไลน์ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการตลาด, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐพร มักอุดมลาภ. (2554). คู่มือเรียนรู้และใช้งานอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น. นนทบุรี: ไอดีซี.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2557). คุณภาพชีวิต (Quality of life). จาก http://haamor.com/th/คุณภาพชีวิต/

รติมา คชนันท์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สำนักวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(4). จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53802.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). (2561). MADE...from Thai creativity. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. จาก http://jfklib.oas.psu.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=1123964

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสําหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอร์ไทชิ่งกรุ๊ฟ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ องค์การมหาชน. (2561). Checklist รู้ทันซื้อขายออนไลน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน).

Kaplan & Haenlein. (2010). Kaplan, A. M., & Haenlein, M. (2010). Users of the world, unite! The challenges and opportunities of social media. Business Horizons, 53, 59-68.

Kietzmann, Hermkens, McCarthy & Silvestre. (2011). Social media? Get serious! Understanding the functional building blocks of social media. Business horizons, 54(3),

Susumu Yoshikuni. (2556). โซเชียลมีเดีย (Social Media). จาก http://06550145.blogspot.com/2013/02/social-media.htm