แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พิมพงา เพ็งนาเรนทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดสวัสดิการสังคม 2) ศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อการจัดสวัสดิการสังคม 3) พัฒนาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการสังคม 4) เพื่อประเมินแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ จำนวน 279 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพและปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนรวมถึงนำมาพัฒนาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการสังคมและเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุจำนวน 279 คน เพื่อประเมินแนวทางด้านการนำไปใช้ประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน โดยใช้โมเดลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis Model) โดยวิธีแบบขั้นตอน (Stepwise) ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางส่วนปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนมีอิทธิพลต่อการจัดสวัสดิการสังคมในด้าน 1) สุขภาพและการรักษาพยาบาล 2) รายได้ 3) ที่พักอาศัย 4) นันทนาการ 5) ความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง 6) มาตรฐานด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน การพัฒนาแนวทางผู้วิจัยนำผลการวิจัยจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 มาพัฒนาเป็นแนวทาง ส่วนผลการประเมินแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการสังคมตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุด้านการนำไปใช้ประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/.

กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์. (2548). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจัดการระบบสารสนเทศด้านส่งเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจัดการสารสนเทศ ด้านส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 6. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คมนา อรรถวิทยากุล. (2553). การบริการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะคุ. รายงานการศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จักรสันต์ เลยหยุด. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนาจำกัด.

นารีรัตน์ จิตรมนตรี และสาวิตรีทยานศิลป์. (2552). การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการจัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

นิตยา วงศ์วรบุตร. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลปลวกแดง. การศึกษาอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพิศ มีมะแม. (2556). ประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

มลทา มั่นคง. (2554). การดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไม้ป่า ธิรานันท์. (2552). การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหลอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุวณี เกษมสินธ์. (2553). สภาพและปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงครามจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วันทนีย์ วาสิกะสินและคณะ. (2554). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สังคม ศุภรัตนกุล. (2546). การรับรู้บทบาทและแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับการปฏิบัติงานในการให้บริการหลักในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมชาติ จิตราวุธ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในจังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อุบล วัฒนศักดิ์ภูบาล. (2553). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Herzberg, F (1959). Block the Motivation to Work. NY: John Willey.