ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ใน 4 ด้านประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านการบริหารบุคล ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ด้านวิชาการ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และด้านการบริหารบุคคล ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา และอาชีพพบว่า ก) ผู้ปกครองนักเรียนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ ข) ผู้ปกครองนักเรียนที่มีอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่2)พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรชกร ชวติ. (2544). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เชิดพงษ์ อุดรพันธ์. (2556). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนบ้านโสน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาปทุมธานี.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
วินิดา ทินนา. (2556). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนทีมีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วศิน ปาลเดชาพงศ์. (2539). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโรงเรียนอนุบาลเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลก้องหล้า กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรุณรัตน์ ชัยยา. (2555). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโคกไพล ตำบลทัพราช อำเภอพระยา จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.