การสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมในวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านอุ่มแสง จ.ศรีสะเกษ

Main Article Content

ศรมณ เทพแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง การสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมในวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านอุ่มแสง จ.ศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการก่อรูป กระบวนการ องค์ประกอบการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมและแนวทางการรวมกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านอุ่มแสง จ.ศรีสะเกษ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยใช้การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกในสนามจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ผู้นำที่เป็นผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอุ่มแสง ผู้ประกอบการจำหน่ายข้าว และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัย พบว่า  วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านอุ่มแสง จ.ศรีสะเกษ ก่อรูปการประสบความยากลำบากในการประกอบอาชีพทำนาซึ่งจัดให้อยู่ในอุตสาหรรมการทำนา จึงรวมกลุ่มกันทำนาอินทรีย์โดยนำองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ การจัดการพื้นที่ และเทคโนโลยีแบบสมัยใหม่ ผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านอุ่มแสงสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริหารจัดการแบบใหม่โดยนำข้อดีของการบริหารของสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และบริษัทเอกชนมาประยุกต์ใช้ การดำเนินงานขับเคลื่อนผ่าน 3 กลไก คือ ผู้นำ กรรมการ สมาชิก พร้อมนำระบบพี่เลี้ยงที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มมาช่วยสร้างความเชื่อและวิถีการผลิตใหม่ให้กับคนในชุมชน รวมทั้งมีผู้นำทีมสร้างสรรค์รุ่นใหม่ประจำหมู่บ้าน ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐและองค์กรระหว่างประเทศ ผลจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ปรากฏเป็นนวัตกรรมต่างๆ ดังนี้ นวัตกรรมเปลี่ยนกรอบความคิด (Change in Mental Model) นวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ด้านเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่ นวัตกรรมการรวมกลุ่ม และนวัตกรรมการเชื่อมโยงตลาดโลก  ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงการจัดการแบบใหม่  มุ่งสร้างความเข้มแข็งภายในกลุ่ม สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนด้วยความเป็นอยู่แบบพอเพียง พึ่งพาตนเองเป็นหลัก โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและความมีสำนึกร่วมของท้องถิ่นผสานกับภาวะผู้นำที่แท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เร่งปรับปรุง พรบ. กองทุนพัฒนาข้าวฯ ชง คสช. คืนความสุขให้เกษตรกร. (2557, 23 กรกฎาคม) แนวหน้าออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.naewna.com/view/breakingnews/113856
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=23222&filename=index.
Bourdieu, P. (1997). Forms of capital. In Education: Culture, Economy and Society. Oxford: Oxford University Press.
Elkington, J. (1997). Cannibals with Forks: The Triple Bottom Line of Twenty-First Century Business. Capstone: Oxford.
Geoff Mulgan et al. (2007). Social Innovation: What It Is, Why It Matters and How It Can be Accelerated. Retrieved from https://youngfoundation.org/wp-content/uploads/2012/
10/Social-Innovation-what-it-is-why-it-matters-how-it-can-be-accelerated-March-2007.pdf
Jurgen Howaldt and Michael Schwarz. (2010). Social Innovation: Concepts, Research Fields and International Trends. Dortmund: International Monitoring. Retrieved from http://www.sfs.tudortmund.de/cms/Medienpool/small_publications/Doc_1289_IMO_Trendstudie_Howaldt_Schwarz_englische_Version.pdf
McAdam, Doug. (1999). Political Process and the Development of Black Insurgency, 1930 - 1970. (2nd ed). Chicago : The University of Chicago press.
Phills, D. Miller. (2008). Rediscovering Social Innovation. Stanford Social Innovation Review. 6(4), 34-43. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/242511521_
Rediscovering_Social_Innovation
Shigetomi, Shinichi and Kumiko Makino. (2009). Protest and Social Movements in the Development World. Japan: IDE Jetro.
Stekelenburg, Jacquelien van and Bert Klandermans. (2009). Social Movement Theory: Past Presence and Prospect. Leiden: Brill.