การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยภายในและภายนอก ต่อการใส่ชุดผ้าไทยตามผู้นำเสนอ

Main Article Content

Isari - Pairoa

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดที่ผู้นำเสนอแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสาเหตุจากปัจจัยภายนอกและภายในต่อการเลือกสวมใส่ชุดผ้าไทยของกลุ่มสุภาพสตรีวัยทำงาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล   คือ   กลุ่มสุภาพสตรีวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-35 ปี ที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพกลาง  จำนวน 121 คน    โดยนำมาประเมินผลคะแนนเปรียบเทียบด้วยสถิติ T-test (independent sample t-test)  


ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเลือกสวมใส่ชุดผ้าไทยของกลุ่มสุภาพสตรีวัยทำงานที่ได้รับสื่อในการสื่อสารการตลาดที่ผู้นำเสนอแต่งกายชุดผ้าไทย โดยการจัดกลุ่มของคำถามวัดหาสาเหตุ ซึ่งปัจจัยภายใน คือ ผู้นำเสนอส่งผลให้ผู้ใส่รู้สึกถึง ความคล้ายคลึง ความมีเอกลักษณ์ อุปนิสัย มุมมองและทัศนคติ และปัจจัยภายนอก คือ ผู้นำเสนอส่งผลให้ผู้ใส่รู้สึกถึง ความมีสไตล์ ความมั่นใจ ความน่าดึงดูด และการเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ผ้าไทย การวิเคราะห์ T-test (independent sample t-test) ปัจจัยภายนอกมีผลต่อการเลือกสวมใส่ชุดผ้าไทยมากกว่าปัจจัยภายใน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (t = 3.284 ; p =.001; S.E. = .274) โดยมีปัจจัยภายนอกมีค่าระดับคะแนนอยู่ที่ 17.843 (S.D. = 3.152) และมีปัจจัยภายในมีค่าระดับคะแนนอยู่ที่16.942 (S.D. = 3.102) เพราะเสื้อผ้าเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ในแง่ของการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางกายภาพ และบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ซึ่งผลการวิจัยนี้ทำให้นักการสื่อสารการตลาดที่พัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าที่เป็นชุดผ้าไทย สามารถนำผลการวิจัยนี้ ไปศึกษาพัฒนาวิธีการสื่อสารการตลาดต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โพสต์ทูเดย์ไลฟ์. (2561). ชุดไทย’ ใส่อย่างไร มิให้ร้อน [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://www.posttoday.
.com/life/life/547280 สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561.
ปาริชาติ วงษ์ทองดี. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคในตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม: กรุงเทพฯ.
สิรินทิพย์ สุขกล่ำ. (2557). การสร้างตราสินคา้เส้ือผา้แฟชนั่ ไทย: กรณีศึกษา ตราสินค้า PATINYA. สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: กรุงเทพฯ.
เสรี วงษ์มณทา. (2540). ครบเรื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. ดวงกมลสมัย: กรุงเทพฯ.
Brandbuffet, (2561). บทเรียนการตลาดจาก “บุพเพสันนิวาส” เมื่อแบรนด์ต้องมีความเป็น “มนุษย์” ที่จับต้องได้ [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก :Https://www.brandbuffet.in.th/2018/03/
bubpaesuniwas-fever-authentic-real-time-marketing/ สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2561.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.- G.& Buchner, A. (2007). G*Power.3: A flexible statistical power analysis programe for the social, behavioral, and biomedical science. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson.