แนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต

Main Article Content

อัตถกร ธรรมศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมและรูปแบบของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต 2. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันอาชญากรรมภายในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และ 3. หาแนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเมืองเอก ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี นักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) จำนวน 400 คน การศึกษาวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมและรูปแบบของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต โดยด้านปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม 3 อันดับแรก ได้แก่ มีทางเข้า-ออกหลายทางเปิดโอกาสให้ผู้ก่อเหตุหลบหนีได้ง่าย มีพื้นที่รกร้างขาดการดูแลเอาใจใส่ และในพื้นที่ส่วนกลางไม่มีกล้องวงจรปิด  ส่วนรูปแบบของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นนั้น ได้แก่ จี้ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ และปล้นทรัพย์ 2. ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตพบว่าทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติ และด้านการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ควรให้หน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ตั้งแต่หน่วยงานของรัฐ เช่น สถานีตำรวจภูธรปากคลองรังสิต เทศบาลตำบลหลักหก ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ประกอบการหอพักในพื้นที่ตลอดจนผู้นำชุมชนและผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อวางแผนป้องกันอาชญากรรมตลอดจนการปฏิบัติงานในพื้นที่ร่วมกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันอาชญากรรม ต่อผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านเมืองเอก ซึ่งจะส่งผลให้อาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอกลดลง ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย