ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน 2) อิทธิพลของปัจจัยจูงใจกับความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากบุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 178 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ การถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรสายสนับสนุน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และประเภทบุคลากร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาตนเอง ในด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่แตกต่างกัน และ 2) ความสำเร็จของงาน ความมั่นคงในการทำงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่ง สถานภาพทางสังคม ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเองทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษาต่อ ด้านการฝึกอบรม และด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเงินเดือนหรือค่าตอบแทนส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเอง ด้านการฝึกอบรม เพียงด้านเดียว
Abstract
The aims of this independent study are to investigate the differences between individual factors and the needs for self-development of supporting personnel, and to examine the influences between motivational factors and the needs for self-development of supporting personnel. By employing quantitative modes of enquiry, the study was conducted in the form of a survey, the questionnaire was used to gather information from 178 supporting personnel. Simple statistical analysis namely Percentage, Mean, One-way ANOVA and Regression were applied in the study. The findings of the study are as follows:
Hypothesis testing results showed that, in terms of needs for self-development of personnel, the differences of sex, age, education background, length of work experience performed, and types of personnel showed no statistical significance to personnel’s opinions about self-development on training, further education and self-learning, respectively. Work performance, stability, promotion, and social status had influence over three aspects of self-development - trainings, further education and self-learning. For other factors, salary or wage had influence on self-development simply on training.
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น