การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา

Main Article Content

อัครินทร์ อังกูรวงษ์วัฒนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยใช้ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้านนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และศึกษาศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ทั้งจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ (Primary and Secondary Sources) จากการสังเกต และจากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มให้ข้อมูลหลัก (Key-Informants) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านหรือพ่อหลวง ผู้นำชุมชน กลุ่มนักวิชาการ ได้แก่ นักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ กลุ่มภาคประชาสังคมที่สนใจศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยทำการศึกษาและนักพัฒนา ข้าราชการ ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญาล้านนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้านนา ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทุนทางสังคมหรือทุนภูมิปัญญาที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ล้านนา มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมสืบสานเป็นมรดกทางสังคมและวัฒนธรรมมีความโดดเด่นและทรงคุณค่า สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาสัมผัสเที่ยวชมวัฒนธรรมล้านนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น 2) ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนได้ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากระบบเสรีนิยมเป็นระบบเสรีนิยมใหม่ (Liberalism/Neo-Liberalism) จากสังคมและวัฒนธรรมเป็นพหุสังคมและพหุวัฒนธรรม ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาที่ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการพัฒนาการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการจัดการการท่องเที่ยว การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน


Abstract
Research Articles " SUSTAINABLE CULTURAL TOURISM DEVELOPMENTUSING LANNA LOCAL WISDOM POTENTIAL". The purpose is to study and analyze Lanna cultural and social contexts that influence the development of cultural tourism. To study the potential of local wisdom of Lanna that affect the development of sustainable cultural tourism. By means of documentary research both from Primary and Secondary Sources, Observation and In-Depth Interview from the Main Data Group. Key-Informants are the Sikhs, the elders, the elders, the community leaders, the academics, the sociologists Anthropologist historian Civil society interested in research on the topics studied by the researcher and the civil servants who study research on wisdom Lanna.
The research found that: 1) Lanna social and cultural context Affect the development of cultural tourism. Social capital or capital of wisdom in the way of life of the Lanna people, such as arts and culture traditions, natural attractions. Lanna Historical Attractions Cultural identity The local wisdom that preserves the cultural and social heritage is unique and valuable. It attracts tourists both domestically and internationally. Come and experience the culture of Lanna. The number of tourists increased and tourism income increased. 2) The potential of Lanna local wisdom. Impact on the development of sustainable cultural tourism. The economic, social and cultural environment that is changing from liberal to neoliberal. (Liberalism / Neo-Liberalism) Social and cultural diversity is multicultural and multicultural. The potential of local wisdom Lanna conservation and cultural development. Through the process of tourism management. Development of Competitiveness Efficiency increasement And the added value to wisdom and culture. Affect the development of sustainable cultural tourism.

Article Details

บท
บทความวิจัย