มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษา เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ท้องถิ่นชนบทและท้องถิ่นชุมชนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงหาคำตอบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎยังคงเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามเจตนารมณ์ดั้งเดิม และเพื่อศึกษารูปแบบในการดำเนิน พันธกิจในการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ตั้งในความเป็นท้องถิ่นและมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ตั้งในพื้นที่ความเป็นเมือง โดยใช้การศึกษาจากเอกสารต่างๆ ทั้งที่เป็นเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมไปถึงการสืบค้นข้อมูลในเชิงพื้นที่ (area based) ตามกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏยังคงเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตาม เจตนารมณ์เดิมอยู่ แม้ว่าบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม ทั้งนี้รูปแบบของการดำเนินพันธกิจ อันได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ชุมชนเมือง อันได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ท้องถิ่น อันได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จะมีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจำเป็นต้องตระหนักถึง 1) การกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะวางกรอบแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 2) กระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องและสามารถตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้ 3) การวิจัย จะต้องคำถึงถึงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างแท้จริงผ่านการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่ 4) การบริการวิชาการ จะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นวิชาการไปสู่ความรู้ที่คนในพื้นที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้ และ 5) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จะต้องช่วยสืบสานและยกระดับองค์ความรู้ในท้องถิ่นในเป็นองค์ความรู้สากล
Abstract
The objectives of this study were to explore whether Ratjabhat Universities were still universities for local development, as defined by their original purpose, and to investigate the practice of the universities’ mission concerning local development, focusing on Ratjabhat Universities in both rural and urban areas. The study was based on various documents providing primary and secondary data, including area based researches concerning related thinking frameworks and theories.
It was found that even though the context of Ratjabhat Universities had changed, they were still universities for local development. Regarding the practice of universities’ mission such as teaching, researching, providing academic services and preserving art and culture, it was clear that there were some differences between Ratjabhat Universities in urban areas like Suan Sunandha Rajabhat University and Ratjabhat Universities in rural areas like Uttaradit Rajabhat University.
To develop Ratjabhat Universities for local development is needed to focus on: 1) planning on the universities’ vison and strategy, which were very important in leading to the desired path to become universities for local development, 2) teaching methods which should correspond and support various needs in different areas, 3) conducting researches, which should be based on benefits and applications in the areas, and on new knowledge and technology, 4) providing academic services, from which knowledge should be passed on to locals leading to various practical advantages, and 5) preserving art and culture, aiming to inherit and promote local knowledge to become more international.
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น