การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศ 2) ศึกษาสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อกระบวนการการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศ และ 3) พัฒนาข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษารวบรวมข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์งานวิจัย และการสังเคราะห์เอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากการอบรมสัมมนาและการประชุม ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้ของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เพื่อประมวลเป็นกรอบแนวความคิดและเครื่องมือ
ในกระบวนการวิจัย ตลอดจนอธิบายบริบทและพัฒนาข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศตามหลักทฤษฎี ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กองทัพอากาศมีกระบวนการและกิจกรรมการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ มีการแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยนำโปรแกรมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยให้การเข้าถึงองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จัดทำแผนแม่บท
การดำเนินการและใช้กลยุทธ์ 4 Learn ในการขับเคลื่อน โดยการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศจะเกิดประโยชน์ต่อเนื่องในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์การในที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้นำทุกระดับของกองทัพอากาศมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการผลักดันการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้วัฒนธรรมองค์การยังมีความเหมาะสมและเกื้อหนุนให้กองทัพอากาศพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม อาทิ การกระจายอำนาจ การลดจำนวนลำดับชั้นในองค์การ และการบริหารจัดการภายในที่ดี ซึ่งระบุได้ว่าเป็นสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลเชิงบวกต่อการจัดการความรู้และนำพาให้กองทัพอากาศขับเคลื่อนไปสู่การเป็นกองทัพอากาศแห่งการเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
Abstract
This research aimed to 1) study the knowledge management process of Royal Thai Air Force. 2) Study the environment affecting the knowledge management process of Royal Thai Air Force. And 3) develop recommendations on how to strengthen the knowledge management of Royal Thai Air Force to be a learning organization. This research is a qualitative research and gathered data from empirical evidence, analysis research, synthesis of primary and secondary documents, participatory observation of seminars and conferences and In-depth interviews with knowledge management experts of Army, Navy and Royal Thai Air Force. To use as a conceptual framework and tools in the research process. Including explain the context and develop recommendations on knowledge management of Royal Thai Air Force theoretically. It was found that Royal Thai Air Force has a systematic knowledge management process and activities, appointment of a working group responsible clearly, the application of information technology to facilitate access to knowledge and exchange of learning quickly, a master plan for action and use the 4 Learn
to drive strategy. The knowledge management of Royal Thai Air Force will help people develop their work and the organization eventually. In addition, it was found that Royal Thai Air Force has leaders at all levels of Royal Thai Air Force has a positive influence on the driving operation continuously, the appropriate organizational culture and supports Royal Thai Air Force to develop in the right direction and leading to increased efficiency and effectiveness of the organization. Including an appropriate organizational structure, decentralization, reducing organizational hierarchy and good internal management. These are all environments that positively influence knowledge management and lead Royal Thai Air Force to be a learning organization in a concrete and sustainable way.
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น