การจัดการป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะ และจารีตประเพณีท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ

Main Article Content

เดือนนภา ภู่ทอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายฉบับและมีหน่วยงานที่มีภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรงหลายหน่วยงาน กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ในปัจจุบันต่างสนับสนุนหลักการรวมศูนย์อำนาจในการจัดการป่า ป่าชุมชนในแง่อำนาจรัฐมีปัญหาทางด้านกฎหมายทับซ้อนกับกฎกติกาของชุมชน การต่อรองในเรื่องสิทธิได้นำไปสู่การสร้างกลไกที่เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลได้ กรณีป่าชุมชน คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยได้อย่างชัดเจน รัฐยังคงรวมศูนย์อำนาจในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ มองมิติการจัดการเชิงพื้นที่และการบริหารจัดการ ในเชิงวิชาการป่าไม้มากกว่าการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ขาดการบูรณาการระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมขาดการบูรณาการระหว่างทรัพยากรป่าไม้กับทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น การศึกษาเรื่อง การจัดการป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะและจารีตประเพณีท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานจัดการของชุมชน กระบวนทัศน์และรากฐานของการจัดการป่าชุมชน รวมถึงกฎหมายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิป่าชุมชนและยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการป่าชุมชน เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากนี้ยังเสนอแนว ทางการร่วมมือ โดยภาครัฐสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานโยบายผ่านรูปแบบการบริหารจัดการป่าชุมชน อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมเป็นแผนพัฒนาโครงสร้างด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาแบบเชิงคุณภาพผ่านการค้นคว้าจาก เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า สังคมท้องถิ่นมีการจัดการ ป่าชุมชุนโดยการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อ ค่านิยม และอาศัยปราชญ์ชาวบ้านหรือพ่อหลวงรวมทั้งพระสงฆ์ เป็นรากฐานการขับเคลื่อนชุมชนผ่านการปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด/ถิ่นเกิด/หรือท้องถิ่น และนำเอาวัฒนธรรมจารีตประเพณีท้องถิ่นมาเป็นวิถีปฏิบัติในการจัดการดูแลรักษาป่าของชุมชนท้องถิ่น เช่น การนำความเชื่อเรื่องผีที่ดูแลป่า การรักษาป่าต้นน้ำ การใช้ทรัพยากรจากป่าอย่างรู้คุณค่าและกุศโลบายในการรักษาป่าผ่านพิธีกรรมต่างๆของชุมชนท้องถิ่นในแต่ละแห่ง


Abstract
Thailand has many laws about natural resources and environmental management and organizations that directly have missions in environment. The laws about the forest in these days support the centralization in forest management. Community forest in case of state power has law problems which overlap with community rules. The right negotiation brings to machinery which makes checks and balances. The case study of community forest is the example which explicitly reflect the inefficiency management of natural resources and environment in Thailand. Government still be the centralization in forest resources management. They focus on the spatial management in forestry more than nature and human relationship management. They lack of integration in economic, social, and environmental development and also lack of integration between forest resources and natural resources especially in local community. So, the study of the community forest management for sustainability by using public participation and northern local tradition aims to study community management operation, paradigm, and community management foundation including to government law about community forest rights and community forest management strategy for natural conservation in the northern. Moreover, to suggest the cooperation that government can apply to policy development through community forest management. In addition, can promote to structural development plan in natural conservation next. This study is qualitative study and researches from documents, in-depth interview and participant observation. The results of this study are that local society has community forest management by bringing the local wisdoms, believes, values, and intellectuals including monks to be the foundation of community movement through cultivating homeland or local love and brings local traditions to be the way of community forest preservation such as the believe of forest protecting ghost, watershed forest preservation, efficiently use of forest resources, and stratagems through each local rites.

Article Details

บท
บทความวิจัย