กลยุทธ์การบริหารจัดการองค์การทางสังคม : กรณีวัดในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ ผู้เขียนจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อค้นพบที่เกิดจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย 3 ข้อ คือ 1) พัฒนาการของกลยุทธ์โดยพบว่า เดิมใช้วางแผนในวงการทหาร ปรากฏในตำราพิชัยสงครามของชุนวู มีการนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ ศิลปะแห่งสงคราม และต่อมามีการจัดตั้งเป็นสำนักแนวคิดของ 10 สำนักคิดมีสำนักออกแบบและสำนักวางแผน เป็นต้น จนกระทั่งนำมาปรับใช้กับองค์การภาคธุรกิจ ในปัจจุบัน 2) สัมฤทธิผลการบริหารจัดการองค์การทางสังคมประเภทวัด ได้พบว่าการบริหารจัดการไม่บรรลุสัมฤทธิผล สาเหตุเพราะแต่ละวัดขาดแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ จากกรณีศึกษาที่พบว่า เจ้าอาวาสในฐานะผู้บริหารจัดการวัด ใช้หลักการบริหารจัดการตามความเคยชิน ขาดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่ชัดเจน เป็นต้น 3) มีเสนอแนะให้เจ้าอาวาสแต่ละวัดในประเทศไทยจำนวน 39,481 วัด ได้จัดทำแผนกลยุทธ์สำหรับบริหารจัดการวัดนั้น ๆ เนื่องจากแต่ละวัด แต่ละท้องที่ มีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค เฉพาะตน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรจัดหานักวิชาการอิสระเข้าไปช่วยเหลือในการจัดทำแผนกลยุทธ์
ABSTRACT
This article was compiled to present the findings from the document and research; 1) The development of the strategic concept where it was found that this strategy was previously used in military strategy as in The Art of War of Sun Tzu. Later 10 Schools were set up, with two of them being The Design and the Planning School. This strategy was later applied in Business organization. 2) The achievement of the temples Organization management where it was found that the Management Objectives were not achieved because each temple does not have strategic planning in the management. From the case study it was found that most abbots do not have clear vision and mission etc. 3) The abbots of all 39,481 temples were suggested to have strategic planning because each temple is located individually with different SWOT. The National Office of Buddhism should provide independent scholars to each temple to help them set up the strategic planning.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา