บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Main Article Content

ศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี
ชยพล ใจสูงเนิน
มนตรี ชินสมบูรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เพื่อศึกษาปัญหาของผู้ปกครองในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขต  ภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาและอาชีพ 4) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาของผู้ปกครองที่มีในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาและอาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลาง  ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 384 คน  และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test

            ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัญหาของผู้ปกครองในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้ปกครองที่มีเพศ วุฒิการศึกษา และอาชีพแตกต่างกันมีบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  4) ผลการเปรียบเทียบปัญหาของผู้ปกครองที่มีในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และระดับการศึกษาแตกต่างที่แตกต่างกัน มีปัญหาในการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตภาคกลางเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

ABSTRACT

            The purposes of this research were 1) to study the role of parents in promoting reading culture to primary students in central region of Thailand for building lifelong learning skills: 2) to study parents’ problems in promoting reading culture for building lifelong learning skills to primary student in central region of Thailand: 3) to compare the role of parents in promoting reading culture for building lifelong learning skills to primary student in central region of Thailand by using personal characteristics: gender, level of education and occupation. 4) to compare problem of parents in promoting reading culture for building lifelong learning skills to primary student in central region of Thailand by using personal characteristics: gender, level of education and occupation. The sample size was determined by using Krejcie & Morgan Table and getting 384 samples with a multi-stage random sampling. Questionnaires were used for collecting data. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

            The results showed that: 1) the overall role of parents in promoting culture of reading to primary school students in central region of Thailand for building lifelong learning skills was in moderate level. 2) The overall problem of parents in promoting the culture of reading to primary school students in central region of Thailand for building lifelong learning skills was in moderate level. 3) In comparing role of parents in promoting culture of reading to primary school students in central region of Thailand for building lifelong learning skills was in moderate level by using personal characteristics; genders, levels of education and occupation found that overall data has statistical significant difference at the 0.05 level. 4)  In problem of parents in promoting reading culture to primary school students in central region of Thailand for building lifelong learning skills by using personal characteristics; gender, levels of education and occupation found that overall data has statistical significant difference at the 0.05 level.

Article Details

Section
Research Article