ภาพสะท้อนสังคมไทยจากภาพนิทรรศการ “พรรฦก” โดย ชฤต ภู่ศิริ

Main Article Content

วิรยา ตาสว่าง
ทิพยภรณ์ รักษา

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนสังคมไทยจากภาพนิทรรศการ “พรรฦก” โดย ชฤต ภู่ศิริเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏใน ภาพถ่ายของ ชฤต ภู่ศิริ โดยศึกษาจากภาพถ่ายนิทรรศการชุด “พรรฦก” จากทั้งหมดจำนวน 15 ภาพ โดยใช้แนวคิดภาพสะท้อนสังคมไทย เพื่อศึกษาการสื่อสารความหมายด้วยภาพ

ผลการวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฏในภาพถ่ายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ ภาพสะท้อนสังคมไทยด้านวัฒนธรรม ภาพสะท้อนสังคมไทยด้านเพศ ภาพสะท้อนสังคมไทยด้านการศึกษา และภาพสะท้อนสังคมไทยด้านเศรษฐกิจ ส่วนภาพสะท้อนด้านค่านิยมสังคมไทยที่ปรากฏในภาพถ่ายสามารถแบ่งได้ 7 แบบ ได้แก่ ค่านิยมความหรูหรา ค่านิยมความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ค่านิยมขาดระเบียบวินัย ค่านิยมความมั่งคั่ง ค่านิยมปัจเจกบุคคล ค่านิยมตัวใครตัวมัน ค่านิยมระบบอาวุโส องค์ประกอบภาพที่ปรากฏในภาพถ่าย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของคนในสังคมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เน้นการสื่อสารความหมายการแสดงท่าทางของบุคคลในภาพ ฉากและองค์ประกอบเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป

ข้อค้นพบที่น่าสนใจในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคคลที่ปรากฏในภาพถ่ายส่วนใหญ่คือ เด็ก ผู้หญิง และคนชรา เพราะถูกละเลยการให้ความสำคัญ บุคคลเหล่านี้จึงได้รับผลกระทบจากการกระทำที่สะเทือนใจจากผู้ที่มีสถานภาพเหนือกว่า ภาพถ่ายจากนิทรรศการชุดนี้ นอกจากจะสื่อสารความหมายในเรื่องภาพสะท้อนและค่านิยมแล้ว ยังสื่อสารความหมายทางอารมณ์ เพราะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผ่านมุมมองเสียดสีโครงสร้างความเป็นจริงที่คนในสังคมไทยละเลย

ABSTRACT

The research titled “The Reflection of Thai Society of the Photographs from the "Bizarre Land" Exhibition by Charit Pusiri” was a qualitative research aimed to analyze the social reflection depicted in photographs of Charit Pusiri by reviewing 15 photographs from the "Bizarre Land" Exhibition by using the concept of Thai society reflection to study communication through photographs.

The result of Thai society reflection appeared in these photographs could be categorized into 4 aspects as follow: cultural aspect, gender aspect, education aspect and economic aspect. While the Thai society value reflection appeared in these photographs could be divided into 7 types namely luxury values, generosity values, lacking of discipline values, wealth values, Individual values, “every man for himself” values and seniority system values. Most of the composition was about the story of people in society that occur in everyday life focusing on meaning of gesture of the person in the picture however scenes and composition were seen in general.

The interesting finding of this research was that the person who appeared in most photographs was child, women and elderly person. Because of being neglect, they were affected by the critically acclaimed action of the superior. Photographs from this exhibition, were not only communicate on reflection and values, but it also conveyed the emotional meaning because of reflecting the problems that occurred in Thai society through a sarcastic perspective of the real structure that people in society had neglected.

Article Details

Section
Research Article