รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

นิภาพร ดีมาก
สำราญ กำจัดภัย
สมพร หลิมเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการที่จะรับการพัฒนาความรู้และวิธีการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน  2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ  และผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัด
บึงกาฬ รวมทั้งสิ้น 216 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

             1. ความต้องการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบทบาทหน้าที่ของชุมชนต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ด้านความรู้เกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนวิธีการพัฒนาบุคลากร มีความต้องการมากใน 4 วิธี คือ 1) การศึกษาดูงาน 2) การฝึกอบรม 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 4) การมอบหมายโครงการ

             2. รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี  5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการพัฒนาบุคลากร 2) วัตถุประสงค์การพัฒนาบุคลากร 3) ขอบข่ายการพัฒนาบุคลากร  4) แนวทางการพัฒนาบุคลากร  และ 5) การประเมินผลการพัฒนาบุคลากร

             3.  การประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า  ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์ในระดับมาก

 

ABSTRACT

          The objectives of this research were 1) to study need in receiving knowledge development and methodology of personnel development to enhance the efficiency of the community participation in management of basic education 2) to create the models of personnel development to enhance the efficiency of the community participation in management of basic education and 3) to evaluate the models of personnel development to enhance the efficiency of the community participation in management of basic education. The sample group included school administrators and representatives of local administration totaling 216 persons were selected by simple random sampling. The questionnaires involved to usefulness, possibility, suitability and covering accuracy were used as the instrument for data collection. Data were analyzed used were mean, percentage mean and standard deviation.

The findings revealed that:

         1. The need in receiving knowledge development and methodology of personnel development to enhance the efficiency of the community participation in management of basic education was at a high level all of three aspects which were 1) a role of community to manage basic education 2) knowledge in basic education and 3) participation in management of basic education. The modeling methodology to enhance the efficiency of community participation in management of basic education was at a high level in four domains which were 1) site visit 2) training 3) workshop and 4) project assignment.

          2. The models of personnel development to enhance the efficiency of the community participation in management of basic education included 5 componants of personnel development which were1) principles 2) purposes 3) scopes 4) approaches and 5) evaluation.

          3. The evaluation of the models of personnel development to enhance the efficiency of the community participation in management of basic education found that the usefulness, the possibility, the suitability and the covering accuracy were acceptable at high level.

Article Details

Section
Research Article