การศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารองค์กรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต : กรณีศึกษาผู้ได้รับรางวัลการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ณชพล สุริยเสนีย์
สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ไวพจน์ กุลาชัย

Abstract

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบองค์กรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตขนาดย่อม ใช้การสัมภาษณ์โดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงร่างเพื่อหาองค์ประกอบองค์กรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับผู้ได้รับรางวัลการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 ท่าน จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ

            ผลการศึกษาทำให้พบรูปแบบการบริหารธุรกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตขนาดย่อม โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ มุมมองด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต มุมมองด้านกระบวนการภายใน มุมมองด้านลูกค้าและมุมมองการเงิน การปฏิบัติตามรูปแบบที่นำเสนอจะทำให้เกิดความยั่งยืน ด้วยองค์กรผู้ให้ข้อมูลทั้ง 5 ราย ปฏิบัติจริงมีความมั่นคงยั่งยืน มีผลประกอบการที่ดีและผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาได้

ABSTRACT

           The purpose of this research was to study the configuration of the sufficiency economy model for small industries. A semi-structured interview was employed in this research in order to extract the configuration of the sufficiency economy model from five small industries whose their entrepreneurs won the first and the second Sufficiency Economy Fellowship Contest initiated by the Office of the Royal Development Project Board.  The Thematic Analysis method was employed for the data analysis.

          The configuration of the Sufficiency Economy-based business model for small industries was found in this research. The model was divided by the Balanced Scorecard into five perspectives a learning and growing perspective, an internal process perspective, a customer perspective, and a financial perspective. To follow the proposed model maintains the sustainability since these five entrepreneurs can make corporate sustained, profitable business and overcome the economic crisis.

Article Details

Section
Research Article