การใช้แบบฝึกเพื่อเสริมสมรรถนะการอ่านเร็วสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Main Article Content

จิตชิน จิตติสุขพงษ์
รัชฎาพร ธิราวรรณ
ธนิก เทพกิจ
วรินยา ผาตินาวิน

Abstract

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการอ่านเร็วของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการอ่านเร็วของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตของนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการฝึกสมรรถนะการอ่านเร็วกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก และเพื่อพัฒนาแบบฝึกการอ่านเร็วที่สร้างขึ้นใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มทดลอง และหลักสูตรการเงินจำนวน 40 คน เป็นกลุ่มควบคุม ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบฝึกที่สร้างขึ้นทั้งหมด 6 แบบ ประกอบด้วย แบบฝึกเคลื่อนสายตา แบบฝึกความหมายคำ แบบฝึกอ่านเป็นวลี แบบฝึกอ่านเจาะจง แบบฝึกอ่านข้ามคำ แบบฝึกความเข้าใจในการอ่าน แบบฝึกแสริมสมรรถนะการอ่านเร็วทั้งหมดได้มีการทดลองใช้และปรับปรุงและแบบทดสอบสมรรถนะการอ่านเร็วมีการหาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957  สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยมีดังนี้

              1. การทำแบบทดสอบสมรรถนะการอ่านเร็วพบว่านักศึกษาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกสมรรถนะการอ่านเร็ว ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 317.40 ซึ่งสูงกว่าห้องที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกสมรรถนะการอ่านเร็ว ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 221.45

              2. นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกเสริมสมรรถนะการอ่านเร็ว มีสมรรถนะการอ่านเร็วสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกเสริมสมรรถนะการอ่านเร็วอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              3. แบบฝึกเพื่อเสริมสมรรถนะการอ่านเร็วที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 77.47/75.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75

ABSTRACT

             The purpose of this study were to the speed reading competency for a first year students, to compare use a series of speed reading exercises development of those students who practiced through the exercises and those who did not and to evaluate the series of speed reading exercises development percentage mean score was 75/75. The sample studies was two classes of first- year students in first semester of the 2014 academic year. They were randomly selected by simple random sampling forty students in Library and Information Science was assigned to practice through six types of speed reading exercises. The other group of forty students in Financial Science was the controlled group which followed normal class activities. Six types of speed reading exercises included eye movement, word recognition, phrase reading, scanning, skimming, and reading comprehension exercises. A set of speed reading ability tests was also developed. Both the exercise and tests were tried out and revised. The test reliability computed by using Kuder Richardson 20 formula was 0.957. The speed reading ability tests were then applied to both classes. The speed reading efficiency and t-test were computed from the data collected. The result of this study were:

             1. It was found that the students in Library and Information Science who took the exercises got the average speed reading competency scores 317.40 which was higher than the average of students in Financial Science was the controlled group which got 221.45

             2. The percentage mean score difference test between two groups of students was significant at statistical level of .05

             3. The student final assignment competencies evaluation in percentage mean score was 77.47/75.13 that higher than 75/75 about the expectation.

Article Details

Section
Research Article