ผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาทดลองใช้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 10 โรงเรียน ในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง ผู้วิจัยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งในแต่ละโรงเรียนสุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนและก่อนเรียนของกลุ่มทดลองด้วยสถิติ t-test for Dependent มีการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียน คะแนนพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ t-test for Independent หาค่าดัชนีประสิทธิผลและค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า
1. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น 3) ขั้นศึกษากลุ่มย่อย 4) ขั้นสรุป 5) ขั้นพัฒนาการนำไปใช้ และ 6) ขั้นประเมินผล
2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า
2.1 นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยในแต่ละโรงเรียนมีผลการทดลองไปในแนวทางเดียวกัน
2.2 นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยในแต่ละโรงเรียนมีผลการทดลองไปในแนวทางเดียวกัน
2.3 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.59 อยู่ในระดับมาก
2.4 ค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 2.09 อยู่ในระดับมาก
ABSTRACT
The aims of this research were to develop and study the effectiveness of learning According to the teaching of mathematics outstanding teachers toward mathematics learning achievement sixth grade students. This research and development has taken the learning management model of learning the trying out the learning management model on the sixth grade students of semester 1, academic year 2014 the number of 10 schools in Pathum Thani Phranakhon si Ayutthaya and Angthong province. The researchers used a random sample Multi - state Cluster Random Sampling, in which each school randomly divided into an experimental group of 1 classroom and a control group of 1 classroom the effectiveness of management style. The data analysis was carried out by comparison of average scores of learning According to the teaching of mathematics outstanding teachers toward mathematics learning chievement before-after studying of the experimental group by t-test for dependent samples, comparison of average posttest scores, average of different scores between experimental group and control one by t-test for independent samples,analysis effective index (I.E.) and effect size. The results were as follows;
1. The instructional process of the developed model consisted of 6 stages; 1) create interest 2) presented to the whole class lessons 3) team Study 4) conclude 5) the development, implementation, and 6) evaluate.
2. The results of effectiveness evaluation of the model revealed as follows:
2.1 The experimental group students had the average point of posttest higher than pretest by statistic significance at 0.05level, in each school the results go to the same direction.
2.2 The experimental group students who used the learning According to the teaching of mathematics outstanding teachers had more developed than that of the control one by statistic significance at 0.05 level, in each school the results go to the same direction.
2.3 Effectiveness Index form of learning is equal 0.59 in the high level.
2.4 Effect size model of learning is equal to 2.09 in the large effect.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา