สภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์และการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการของครูปฐมวัย

Main Article Content

ศศิธร จันทมฤก
พนิดา ชาตยาภา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์และการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการของครูปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูประจำชั้นระดับปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 839 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามปลายเปิด ได้ตรวจสอบเพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญให้ปรับปรุงภาษาที่ใช้ในข้อคำถามให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น จากนั้นนำไปทดลองใช้และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิดด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

            1) ด้านสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการให้แก่เด็กปฐมวัย ครูประจำชั้นส่วนใหญ่มิได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมหลัก 12 ประการให้แก่เด็กเป็นการเฉพาะ ไม่มีการจัดหน่วยการเรียนรู้ในหัวเรื่องค่านิยมหลัก 12 ประการ แต่ครูจะบูรณาการค่านิยมหลัก 12 ประการเข้าไปในกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเด็ก

            2) ด้านสภาพและปัญหาการประเมินค่านิยม 12 ประการในเด็กปฐมวัย ครูประจำชั้นส่วนใหญ่ประเมินโดยใช้วิธีการสังเกตภาพรวมด้านความประพฤติของเด็ก ครูไม่เข้าใจและไม่สามารถสร้างกฎเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคส์ที่ชัดเจน ในการประเมินค่านิยม 12 ประการได้

 

ABSTRACT

            The purpose of this research was to study state and problems of twelve core value experience and assessment of preschool teachers. The samples used in this study were 839 preschool teachers. The research tool was open ended questionnaire. Then verify the research tool by using an Index of Item-Objective Congruence and try out to find the confidence with the alpha coefficient of Cronbach. The reliability of the questionnaire was 0.95. Data were analyzed by content analysis.

            The research finding were as follows:

            1) Regarding state and problems of twelve core value experience for preschool children. The most of preschool teachers did not teach about the experiences of twelve core value in particular. Not learning units on the subject, but integrate the core value experience into the activities of daily living.

            2) Regarding state and problems of twelve core value assessment for preschool childhood. The most of preschool teachers assessed the twelve core value by observing children’s behavior in their daily life and did not understanding and can not created a clearly rubric scoring for assess children’s twelve core value.

Article Details

Section
Research Article