การพัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาบ้านคลองห้า หมู่ 2 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์  1) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ  3) เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบ้านคลองห้า หมู่ 2 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจกับประชาชนที่อาศัยอยู่บ้านคลองห้า  หมู่ 2 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 287 คน ระยะที่ 2 วิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน และประชาชนจำนวน 10-12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัย พบว่า

            1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50  ปี  ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี  สถานภาพสมรส  อาชีพข้าราชการหรือพนักงานบริษัท  มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  20,001-30,000  บาท  มีความคิดเห็นต่อการดำเนินชีวิต และรูปแบบการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีระดับมากที่สุด

            2) อายุ การศึกษา และรายได้ของประชาชนที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

            3) รูปแบบการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ บ้านเรือนน่าอยู่ การออม และการลด ละ เลิกอบายมุข มีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การวิเคราะห์ตนเอง การควบคุม การวางแผนพัฒนาการดำเนินชีวิตและการประสานงาน และ 4) พัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบ้านคลองห้า หมู่ 2 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดทำรายงานผลการวิจัยเพื่อนำข้อมูลคืนกลับไปสู่ชุมชนโดยจัดสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและประชาชน พิจารณาความเป็นไปได้ของผลการวิจัยที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน พร้อมกับพัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คือ BRASS MODEL ประกอบด้วย B – การทำบัญชีในครัวเรือน (B - Book Keeping Services) การลด ละ เลิกอบายมุข (R – Reducing Quitting Vices), เกษตรยั่งยืน (A – Sustainable Agriculture), การออม (S - Saving) และบ้านเรือนน่าอยู่ (S - Sung Home)

 

ABSTRACT

            The research was aimed 1) to compare the living patterns of people following to Philosophy of Economic Sufficiency classifying by personal factors, 2) to study the relationship between living patterns of Philosophy of Economic Sufficiency and the style of living along with Philosophy of Economic Sufficiency, 3) to develop the living patterns following to Philosophy of Economic Sufficiency in case of Baan Klong 5, Moo 2, Tambol Klong 5, Amphor Klong Luang, Pathum Thani Province. The research was divided in 2 periods: the first period was quantitative method research by survey to 287 people who lived in Baan Klong 5, Moo 2, Tambol Klong 5, Amphor Klong Luang, Pathum Thani Province. Next, the second period was qualitative method by conducting the focus group of Headman of village, Village Committee, and people for 10-12 in total. The research tools were questionnaires and interview forms. Data analysis was analyzed through instant program. The statistics that used to analyze data were Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, One Way ANOVA, and Multiple Regression.

            The result of research were founded that; 

            1) Personal factors mostly were female, age between 41- 50 years, the education level under Bachelor degree, single status, occupations in government officer or company employee, monthly average income 20,001 - 30,000 Baht, and perception on living style and living pattern following to Philosophy of Economic Sufficiency were in the highest level.

            2) The differences of personal factors in terms of age, education and income had significantly differences on perception of living style and living pattern following to Philosophy of Economic Sufficiency at the level .05.

          3) The patterns of living following to Philosophy of Economic Sufficiency in terms of the sweet home, saving, and the reducing, avoiding, quitting of vices were related to the living style following to Philosophy of Economic Sufficiency in terms of self-analysis, controlling, planning on living development and cooperation. And 4) the living patterns development following to Philosophy of Economic Sufficiency in case study of Baan Klong 5, Moo 2, Tambol Klong 5, Amphor Klong Luang, Pathum Thani Province were founded from the data of descriptive statistics and content analysis. The report of research result was given back to focus group team: Headman of village, Village Committee, and people to reconsider the possibility in applying to real living life of and finally was come up with BRASS MODEL that comprised of: B – Book Keeping Services, R – Reducing, Avoiding, Quitting of Vices, Sustainable Agriculture, S – Saving, and S – Sweet Home.

Article Details

Section
Research Article