ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ปัทมา โกเมนท์จำรัส

Abstract

บทคัดย่อ

   วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนตำบลสองคลองอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา  3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม กับ  เพศ  อายุ  ศาสนา  ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส  สถานภาพในครอบครัว อาชีพหลัก รายได้ต่อเดือน  และรายจ่ายต่อเดือน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กับ ระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 384 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติขั้นพื้นฐาน และการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า  1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่    มีระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมในระดับมาก  2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้านร่างกายและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคม  และด้านสิ่งแวดล้อม ในระดับมาก  3) ระดับความรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถานภาพในครอบครัว อาชีพหลัก รายได้ต่อเดือน  และรายจ่ายต่อเดือนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ  4)  ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านร่างกายและจิตใจ  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

  

ABSTRACT

 

           The purposes of this study were: 1)  to study the knowledge level of sufficiency economy in Songklong sub district community, Bangpakong district, Chachoengsao province, 2) to study the practice level of sufficiency economy in Songklong sub district community, Bangpakong district, Chachoengsao province,  3) to study the relationship between overall knowledge level of sufficiency economy and gender, age , religion, education level, marriage status, family status, main occupation, revenue per month and expenditure per month and 4) to study the relationship between practice level of sufficiency economy and overall knowledge level of sufficiency economy. This research is quantitative research using a survey research method and questionnaire to collect data. The sample size included 384 people.  The data were statistically analyzed by using basic statistics and tested by chi-square.

          The results indicated that 1) most people of the sample group had a high overall knowledge level of sufficiency economy, 2) most people of the sample  group  had a high practice level of sufficiency economy which consisted of body and mind practice level, economic  practice  level, social practice  level and environmental practice  level,   3) the overall knowledge level of sufficiency economy did not affect the gender, age, religion, education level, marriage status, family status, main occupation, revenue per month and expenditure per month at the level significant 0.05. and 4) the practice  level of sufficiency economy  which consisted of body and mind practice level, economic practice level, social practice level and environmental practice  level did not  affect the overall knowledge  level of sufficiency economy at the level significant 0.05.

Article Details

Section
Research Article