ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตภาคกลาง 1
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษาเขตภาคกลาง 1 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดเห็นในการตัดสินใจออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษาเขตภาคกลาง 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 จำนวนทั้งสิ้น 120 คน ที่ได้มาจากการคำนวณขนาดตัวอย่างจากโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power 3.1.9.2 และสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวนทั้งสิ้น 40 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษาอยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษา เรียงตามลำจากมากไปน้อยดังนี้ การให้ความสำคัญกับการศึกษาของครอบครัว มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ -0.456 เศรษฐสถานะ มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.339 สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.208 ทัศนคติ มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ -0.156 และการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ -0.136
ABSTRACT
This research aims to study 1) level of vocational students’ dropout decision in Central Vocational Education Institute Area 1 and 2) effect of selected factors towards vocational students’ dropout decision. Sample was, 120 vocational students in Central Vocational Education Institute Area 1, computed from G*Power 3.1.9.2 which sampling by multi-stage. Research instrument was a 5-Likert’s scale questionnaire (40 items). Data were analyzed by mean, standard deviation, and multiple regression analysis.
Research results were as follow: level of vocational students’ dropout decision was low and factors affecting to level of vocational students’ dropout decision were family’s importance given to education, socioeconomic, school environment, attitude, and school instruction management, with coefficient -0.456, 0.339, 0.208, -0.156, and -0.136, respectively.Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา