ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมีที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

น้ำฝน คูเจริญไพศาล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมีก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมี 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมี และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมี 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมี และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D. = 0.60) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  3) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องประโยชน์และโทษของสารเคมีอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D.= 0.55)

 

ABSTRACT

          The purposes of this study were 1) to develop science learning activity packages on advantages and disadvantages of chemicals for 8th grade students, 2) to compare learning achievement of students before and after learning with the science activity packages, 3) to compare scientific problem solving ability of students before and after learning with the science activity packages, and 4) to study the students’ satisfaction toward the science activity packages. The sample group of this study was one classroom of 8thgrade students (30 students). The research tools consisted of 1) the science activity packages on advantages and disadvantages of chemicals for 8th grade students, 2) the learning achievement test, 3) the scientific problem solving ability test, and 4) the students’ satisfaction questionnaire toward the science activity packages. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, and t-test for dependent sample. The research results showed that 1) the quality of the science activity packages assessed by the experts was at level of very good ( = 4.77, S.D. = 0.60), 2) the mean scores of learning achievement of posttest were higher than those of pretest at the statistically significant .05 level, 3) the mean scores of scientific problem solving ability of posttest were higher than those of pretest at the statistically significant .05 level, and 4) the students’ satisfaction toward the science activity packages on advantages and disadvantages of chemicals was at good level of satisfaction ( = 4.38, S.D.= 0.55).

Article Details

Section
Research Article