และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณและทักษะการเขียนโปรแกรมสำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

Main Article Content

กิตติ เสือแพร
มีชัย โลหะการ
ปณิตา วรรณพิรุณ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณและทักษะการเขียนโปรแกรม 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณและทักษะการเขียนโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 19 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณและทักษะการเขียนโปรแกรม โดยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านพบว่าองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅=4.30, S.D.=0.54) ผลการทดลองใช้รูปแบบนี้พบว่า 1) ผู้เรียนมีคะแนนด้านทักษะการคิดคำนวณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านทักษะการคิดคำนวณหลังเรียนเท่ากับ 89.36 (S.D.=14.4) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านทักษะการคิดคำนวณก่อนเรียนเท่ากับ 26.05 (S.D.=12.5) 2)ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านทักษะการเขียนโปรแกรมของผู้เรียนหลังจากเรียนจากรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน คิดเป็นร้อยละได้เท่ากับ 89.13 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.04

  

ABSTRACT

            The purposes of this research were 1) To develop an adaptive blended learning with social networks to enhance computation thinking skill and writing program skill. 2) To study the result of an experiment of adaptive blended learning with social networks to enhance computation thinking skill and writing program skill. The sample group was 19 bachelor’s degree students who were registered in the first semester of 2014 academic year in the field of electrical engineering, department of Teacher Training in Electrical Engineering, faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. This learning model has a validation average score at high level (X̅=4.30, S.D.=0.54), which was showed that the developed model was appropriated for uses as a learning model. The experimental results represent 1) The posttest scores of computation thinking skill were higher than pretest scores at .01 significance level, the average of posttest scores of 89.36 (S.D.=14.4) while the average of pretest scores of 26.05 (S.D.=12.5). 2) The average of the posttest scores of writing program skill of 89.13% and the standard deviation was 9.04.

Article Details

Section
Research Article