ผลการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแต่ละสาขา และ2) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาคณิตศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยประชากรได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 415 คน แบ่งเป็น 4 สาขา คือสาขาคณิตศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 160 คน แบ่งเป็น 4 สาขา คือ สาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 40 คน สาขาภาษาอังกฤษ จำนวน 40 คน สาขาวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 คน สาขาปฐมวัย จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลอง คือ สาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 102 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบประเมินที่มีการตอบสนองเดี่ยว และแบบทดสอบความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน และสถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการจำเป็นเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจำแนกตามสาขาวิชาทั้งหมด 8 ด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลจากการจัดการอบรมพบว่า พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ก่อนการอบรมให้ความรู้เท่ากับ 13.90 และหลังการจัดอบรมให้ความรู้เท่ากับ 22.05 พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดอบรมให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ABSTRACT
The main objective of this research was 1) to compare results from needs assessment for developing an assessment of learning outcome ability of student teachers of Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage. And 2) to develop an assessment learning outcome ability of the Mathematics student teachers. The population was 415 teacher students studying in the fifth year in academic year 2014. They were classified into 4 majors; Mathematic, English, Science, and Early Childhood. The sample group was 160 student teachers consisting of 40 students from each major. They were chosen by the stratified random sampling. For the experimental group were 102 Mathematics student teachers. The research instruments were needs assessment forms and achievement tests. The needs assessment forms were used for developing an assessment learning outcome ability of student teachers. These instruments were a set of 5-scale with single-response format. For achievement tests were used for evaluating an assessment of learning outcome ability of student teachers. The statistics used in this research were mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index, t-test for dependent samples andF-test.The research results revealed that 1) the comparison of need levels for strengthening the ability to assess learning outcomes in all eight aspects of each major was not different statistically significant. 2) The result of training showed that the mean scores on achievement of assessment learning outcomes before and after seminar were 13.90 and 22.05. The average score after seminar was higher than before and it was statistically significant at .05
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา