เกณฑ์การประเมินการประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สร้างแนวทางการประเมินการประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลและทำการประเมินประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทยเครื่องมือในการประเมินสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ เพื่อสร้างเกณฑ์ และตัวชี้วัดโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่การบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาบุคลากร การปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมาย มีกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมของประชาชน จากนั้นนำมาสอบถามตัวอย่างผู้ชมรายการทั่วประเทศ จากจำนวน 33 ข้อคำถาม เมื่อทำการประเมินโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบกิจการจากสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล 20 ช่อง ผลการประเมินพบว่าสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่ประกอบกิจการมีคะแนนอยู่ระหว่าง 3.81 ถึง 4.42
ทั้งนี้สภาพของการประกอบกิจการฯยังอยู่ในห้วงเวลาแห่งเปลี่ยนผ่านจากแอนาล็อคสู่ดิจิทัลที่มีการออกอากาศในระบบแอนาล็อคด้วย ซึ่งผลกระทบดังกล่าวมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทยทำให้ผลการประกอบกิจการไม่สามารถเป็นไปตามแผนที่แต่ละสถานีกำหนดไว้ ซึ่งสภาพการณ์ที่เป็นอยู่นี้ย่อมส่งผลต่อผลต่อการประเมินสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลด้วย
ABSTRACT
This research aims to evaluate for assessing performance and achievement of the Thai digital television operation. The criteria was developed by In-depth interview. The Corporate management, Human Development, Compliance with laws and regulations, Consumer Protection and Participation of citizens were the criteria. The research surveyed the audiences from 33 Items and then In-depth interviewed to the key informant from Thai digital television stations include five criteria. The score of Thai digital television operation was between 3.81 to 4.42
Considering the transition from analogue to digital broadcasting were in this period. It got rid of the opportunity for growing up of performance and achievement of the digital television in Thailand. The audience viewed programme from cable TV, Satellite TV and Internet TV. As a result, the operation can not be defined according to each station. This situation was inevitably impact to the Thai digital TV Broadcasting evaluation.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา