การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยเทคนิคการสร้างความมั่นคงทางจิตใจเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญปัญหา สำหรับเยาวชนที่ถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์

Main Article Content

จิตติพันธ์ ความคนึง
มฤษฎ์ แก้วจินดา

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความชุกและรูปแบบการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจิตของเยาวชนจากการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ และวิธีการรับมือที่นักเรียนใช้เมื่อถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ และ 2) เพื่อพัฒนาการปรึกษาแบบกลุ่มด้วยเทคนิคการสร้างความมั่นคงทางจิตใจสำหรับช่วยนักเรียนในการรับมือและการจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดจากการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นเป็นเครื่องมือสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2557 จากโรงเรียนในสังกัด สช. เขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 1,146 คน การวิจัยนี้ยังเป็นการพัฒนาและทดลองการปรึกษาแบบกลุ่มทางจิตวิทยาด้วยเทคนิคการสร้างความมั่นคงทางจิตใจ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อช่วยให้นักเรียนรับมือและจัดการกับผลกระทบที่เกิดจากการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้อย่างเหมาะสม มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างจากคะแนนแบบวัดการเผชิญปัญหาและแบบประเมินสุขภาพจิตของฮอบกินส์ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.1 เคยถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การถูกนินทา ด่าทอ ล้อเลียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การได้รับโทรศัพท์กลั่นแกล้ง และ/หรือได้รับข้อความข่มขู่หรือก่อกวน เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกของเหยื่อแตกต่างกันไป ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีวิธีรับมือด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน และ 2) การปรึกษาแบบกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มพูนทักษะการเผชิญปัญหาจากการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ให้แก่นักเรียน และยังช่วยลดความวิตกกังวล และความซึมเศร้าที่เป็นผลกระทบจากการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้

ABSTRACT

            This study has two objectives; including 1) to investigate frequency, methods of cyber bullying, its psychological effects, and coping methods among Thai youth who were cyberbullied, and 2) to develop a group counseling with stabilization technique to enhance their coping skills for anxiety from cyberbully.  A Social Media Online Usage among Thai Youth questionnaire was an instrument to survey 1,146 high school students in Bangkok Metro Area from private schools, which affiliated to the Office of the Private Education Commission, in year 2557 with stratified random sampling method.  Furthermore, this study wanted to develop and try-out a group counseling with stabilization technique with students in Matthayomsuksa 4th  to assist them in coping appropriately from the effects of being cyberbullied.  The data analysis were utilized by Wilcoxon Signed Rank Test to compute the difference results between pre- and post treatment scores of the Coping skills and the Hopkins Symptom Checklist (HSCL–25). 

          The results found that 70.1 percent of sample had at least an experience of being cyberbullied with different methods such as being gossiped, scolded, or used cruel mockery through social media, receiving a fake phone call, and/or getting threatened messages. Those experiences affected to their mood and feeling differently; nonetheless, the students had different coping method.  The results also showed that group counseling could assist students to enhance their coping skills to be cyberbullied and help reducing their anxiety and depression which affected from cyberbullying.

Article Details

Section
Research Article