ความเป็นไปได้ของนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศไทย จังหวัดตาก

Main Article Content

บุหงา ศรีรัตนภมร
พรนภา เตียสุธิกุล
วิมล หอมยิ่ง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ         2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะทางในการปรับปรุงความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศไทย จังหวัดตาก ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการถดถอยแบบขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้บริหารภาคประชาชนรัฐ เอกชนจำนวน 45 คนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ในการแปลความ การตีความ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรก พบว่า ความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยภาพรวมมีความคิดเห็นด้วยอยู่ระดับมากและรายด้านความเหมาะสมของที่ตั้งมีความคิดเห็นด้วยอยู่ระดับมาก 2) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยรวม พบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัวมีความผันแปรของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ร้อยละเท่ากับ 78.30 (R2=0.783) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารภาคประชาชน รัฐ และเอกชน มีความคิดเห็นว่าความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยภาพรวมมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดและ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะทางในการปรับปรุงความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษพบว่า ปัญหาในเรื่องแรงงานภาษีการค้ากฎระเบียบทางราชการ ความโปร่งใสการบริหารของภาครัฐ ปัญหาอาชญากรรมข้ามประเทศและปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ส่วนข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษความร่วมมือกับทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนและรัฐวิสาหกิจในการผลักดันให้สำเร็จ

ABSTRACT

            The objectives of this research were 1) to study the feasibility of the special economic zone establishment, 2) to study the factors affecting the feasibility of the special economic zone establishment, and 3) to study the problems and recommendations for the feasibility improvement of the first special economic zone establishment in Tak, Thailand. The mixed research method was quantitatively and qualitatively applied. The quantitative research was conducted by using a questionnaire with the 0.98 reliability for data collection from 400 samples. The statistical data analysis was done by using percentage, average, standard deviation, and stepwise multiple regression. The qualitative research was conducted by structurally interviewing from 45 purposive samples. The data analysis was the content interpretation. The research results were found that 1) the feasibility of the special economic zone establishment overall agreed at the high level and the aspect of the appropriate location agreed at the high level, 2) the factors affecting the feasibility of the special economic zone establishment were all independent variables having the predicted capability 78.30% (R2 = 0.783) at the 0.05 level of the statistical significance; in addition from the interviews, the executives of the people sector, the government sector, and the private sector overall agreed with the feasibility of the special economic zone establishment at the highest level, and 3) The problems for the feasibility improvement of the special economic zone establishment were about labor, commerce tax, law regulation, transparency, international crime, and environment; therefore, the recommendations were the knowledge provision to people about the special economic zone establishment and the all cooperation from private, government, and state enterprises sectors for accomplishment.

Article Details

Section
Research Article