การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อัษฎา พลอยโสภณ
มฤษฎ์ แก้วจินดา

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวการณ์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น (อายุระหว่าง 15 – 17 ปี) ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มฯ งานวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การวิจัยแบบสำรวจ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักคณะกรรมการส่งเสริมเอกชน เขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,146 คน ช่วงที่ 2 การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาและทดลองการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มฯ กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การวัดตัวแปรตามก่อนและหลังการทดลอง จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ (Non Parametric Statistics) The Signed test

         ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์ยิ่งมากขึ้น ผลการเรียนของนักเรียนมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มฯ สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้และยังสามารถพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ได้

ABSTRACT

         The objectives of this research 1) study were to investigate the usage of social media on-line which affects the progress of Emotional Quotient and Social Media Literacy Skills among adolescents (15 – 17 years old) in private high schools in Bangkok metro area, 2) to study the results of REBT group counseling with music as a media to enhance Emotional Quotient and Social Media Literacy among them. This study had 2 phases, including Phase 1: A survey search, to study about the habits of social media literacy among high school students, Bangkok Metro area. The participants were 1,146 students from those schools. Phase 2: A Quasi Experimental Research, the researcher developed an REBT group counseling with music as a media for 12 high school students, measuring the dependent variables before and after the treatment. The data analysis instruments for this study included mean, standard deviation, percentage, and the Signed test (Non Parametric Statistic).

         The findings were 1) the amount of time staying with social media online among them had a little negative relationship with their GPA. significantly statistical level .05 2) the REBT Group counseling with music as a media was able to develop emotional intelligence to students in high school and also helped improving their skills of social media literacy.

Article Details

Section
Research Article