ภาวการณ์ปัจจุบัน กับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่น

Main Article Content

สาริศา จันทรอำพร
มฤษฎ์ แก้วจินดา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนาการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเน้นความจริงในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมปลายโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเน้นความจริงไปพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมปลายโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในสังกัด สช. เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,146 คน ระยะที่ 2 การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาและทดลองการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายโดยใช้การวัดตัวแปรตามก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบผลคะแนนจากแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการใช้วัดตัวแปรตามหลังการทดลอง  การทดลองนี้ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คนและกลุ่มควบคุม 10 คน ให้นักเรียนกลุ่มทดลองเข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเป็นจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบทางสถิติโดยใช้ (Non Parametric Statistics) Signed test  และ (Parametric Statistics) Wilcoxon-Mann-Whitney Test

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้อยละ 92.8 ของกลุ่มตัวอย่าง 1,146 คน มีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเข้าถึงสื่อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูป ผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่ เพื่อจุดประสงค์ในการพูดคุย แลกเปลี่ยนข่าวสาร ซึ่งกันและกัน 2) การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยเน้นความจริง สามารถพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ดีขึ้นได้ 3) นักเรียนที่เข้าร่วมการปรึกษาแบบกลุ่มโดยเน้นความจริง มีแนวโน้มที่จะพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ดีกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม

ABSTRACT

         The objectives of this research study were three folds; 1) to investigate the usage of social media on-line and study social media literacy skills among adolescents in private high schools in Bangkok metro area, 2) to develop Reality Therapy (RT) Group Counseling for adolescents in private high schools, and 3) to study the effectiveness of Reality Therapy (RT) Group Counseling in enhancing Social Media Literacy skills among them.  This study had 2 phases, including Phase 1: a survey search, to study the habits of social media literacy among private - high school students in Bangkok Metro area.  The participants were 1,146 students from private schools.  Phase 2: a quasi - experimental research, the researcher developed and test the RT group counseling with 10 participants.  The analyses of this study were utilized by a measurement of dependent variables before and after the treatment and a comparison between an experimental group and a control group by measuring the dependent variable after the treatment.  This research study applied a purposive sampling method to recruit 20 participants.  The participants equally were divided into two groups; 10 participants for the experimental group, and the other 10 participants for the control group.  The experimental group participated in the RT group counseling for 10 sessions, 90 minutes per each session.  Frequencies, means, standard deviation, and percentage were calculated.  The data analyses also were utilized by Signed test (Non Parametric Statistic) and Wilcoxon-Mann-Whitney Test (Parametric Statistics).

The findings were 1) 92.8 percent from the sample of 1,146 students used social media on-line via mobile phone for conversation or intercommunication on Facebook, Line, and YouTube applications. 2) RT Group Counseling was able to develop social media literacy among students, and 3) those students who attended RT Group Counseling was able to develop social media literacy more than students in the control group.

Article Details

Section
Research Article