พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดนนทบุรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีในระบบปิดของรัฐบาลและเอกชน จำนวน 8,365 คน หาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดย Taro Yamane = 398 คน ส่งแบบสอบถาม 420 ชุด คัดเลือกที่สมบูรณ์ถูกต้อง 400 ชุด นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติเชิงอนุมาน t-test, F-test, Chi-square, Pearson’s Correlation Coefficient และ Regression ผลการวิจัยที่สำคัญสรุป ได้ดังนี้
1. นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 89.0 มีเพียงร้อยละ 11.0 ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
2. มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนอยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 47.5 มีทัศนคติต่อการลดความอ้วนอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 43.3 มีพฤติกรรมการลดความอ้วนอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 38.2
3. ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ความเพียงพอของรายได้ และการมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นคนอ้วน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดความอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. นักศึกษาที่มีเพศ และชั้นปีที่ศึกษาที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการลดความอ้วนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ปัจจัยนำ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดความอ้วน ปัจจัยเอื้อ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการลดความอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการลดความอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. การวิเคราะห์การถดถอยของพฤติกรรมการลดความอ้วน พบว่า ตัวแปรการได้รับการตรวจรักษาที่เหมาะสม และการได้รับข้อมูลด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดความอ้วน และใช้พยากรณ์พฤติกรรมการลดความอ้วนได้ โดยมีประสิทธิภาพการพยากรณ์ร้อยละ 10.0 (R2 ที่ปรับแล้ว = 1.00 Constant = 34.149)
ABSTRACT
The purpose of this research is to study Obesity Causing Behavior of Bachelor’s degree students in Nonthaburi Province. The sample size selected by Taro Yamane was 398 students out of a total population of 8,365. Questionnaires were distributed to 420 students and 400 were completed. The questionnaires were analyzed in Frequencies Mean () Percentages, Standard deviation (S.D.) t-test, F-test, Chi-square, Pearson’s Correlation Coefficient.
The results were as follows:
1. The majority of students had no underlying diseases. (89%) 11% had underlying diseases, such as diabetic mellitus, heart diseases, hypertension and others diseases (such as allergic diseases).
2. The students knew about obesity at a moderate level of 47.5%., attitude about obesity was at a moderate level of 43.3%, Obesity Causing Behaviors of the students were at a moderate level of 38.2%
3. The relationship between Obesity Causing Behavior, gender, and sufficiency of income had a significant correlation at .05.
4. Differences in students’ gender and academic year correlated with significant differences in Obesity Causing Behavior at .05.
5. Predisposing factors had no correlation with Obesity Causing Behavior; enabling factors had a significant correlation with Obesity Causing Behavior at .05 and reinforcing factors had a negative relationship with Obesity Causing Behavior at .05
6. Regression analysis: providing suitable places for treatment and ample opportunities for exercise correlates with a reduction in Obesity Causing Behaviors. Analysis predicts a 10% reduction in Obesity Causing Behaviors. R2 adjusted = 1.00 Constant = 34.149
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา