พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิจัยเรื่องพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานคือค่าไคสแควร์ (Chi–Square)

            ผลการวิจัย

            1. ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยส่วนใหญ่มีความถี่ในการซื้อน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 78.8 จำนวนสินค้าที่ซื้อแต่ละครั้งโดยส่วนใหญ่ซื้อจำนวน 1 ชิ้น ร้อยละ 46.0 เหตุผลในการซื้อเพราะราคาเหมาะสมกับปริมาณ ร้อยละ 52.3 ชอบซื้อสินค้า OTOP จากแหล่งงานแสดงสินค้า OTOP เช่น เมืองทองธานี ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 80.0 และส่วนใหญ่ซื้อสินค้า OTOP ประเภทขนมต่างๆ /ของหวานบ่อยที่สุด ร้อยละ 42.5

            2. ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ด้านความถี่ในการซื้อ ด้านจำนวนสินค้าที่ซื้อแต่ละครั้ง ด้านแหล่งที่ชอบซื้อสินค้า OTOP และด้านประเภทสินค้า OTOP ที่ซื้อบ่อยที่สุด มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านเหตุผลในการซื้อมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ABSTRACT

               This research aimed to study Behaviors and Consumer’s Satisfaction Towards One Tambon One Product  (OTOP) In Bang-Kroey  Sub-District, Nonthaburi Province. The objectives of this research were products’ consumers, and their satisfaction on marketing mix in Bang-Kroey Sub-District, Nonthaburi Province, Ratchaphruek College. 400 samples were distributed a set of questionnaire. The descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation, and Chi-Square were applied to analyzed data.

            Findings:

            1. In the aspect of consuming behavior of the  respondents, their frequency of  purchasing OTOP products was less than two times a month (78.8%), and each purchase was only one piece (46.0%). 52.3% of the respondents purchased OTOP products because of their reasonable prices, and preference in OTOP from OTOP product exhibition center such as Muengthongthani or supermarkets (80.0%). Most often, most respondents bought confectionery and sweets (42.5%)

            2. The consumers’ satisfaction towards the marketing mix of OTOP was significantly related to the OTOP consuming behavior in the aspect of the amount of purchase and frequency of purchase at the level of .00. In addition, the relationship of the reasons of purchase was statistically significant. 

Article Details

Section
Research Article