ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาผู้เรียนที่มีต่อความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชวินิต บางเขน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กรรณิกา พันธ์ศรี
รุ่งแสง อรุณไพโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสารของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสารระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการทดลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชวินิตบางเขน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบจัดกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาผู้เรียนที่มีต่อความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร แบบวัดความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร และแบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ Paired t - test และ Independent samples t - test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสารสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาผู้เรียนที่มีต่อความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดความสามารถทางการคิดเพื่อตัดสินใจในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมภายหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT

The purpose of this research were: 1) to compare score of the Decision Making on Media Consumption score for the experimental group from the posttest and pretest scores. 2) to compare score of the Decision Making on Media Consumption score for the experiment group and control group from the posttest scores. The research was the Quasi experimental design. The sample consisted of 60 students who were randomly assigned, 30 students in each group, to form the experimental and control groups. The experimental group participated in the Learner Development Program for 12 sessions, 50 minutes per each session. The instruments used were a The Effects a Thinking Development  Program, the Decision Making on Media Consumption test, the student’s self-report of learning experiences in each session, the students opinion’s towards the Program and the researcher. Mean, Standard Deviation, Content Analysis, Paired t - test and Independent sample t - test were used for data analysis.

The research results indicated that: 1) The posttest scores from the Test of the experimental group were higher than theirs pretest scores at .05 level of significance. 2) The posttest scores from the Test of the experimental group were higher than posttest scores of the control group at .05 level of significance. 

Article Details

Section
Research Article