บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีกับการจัดการปัญหาอุทกภัย THE ROLE OF LOCAL AUTHORITIES IN PATHUMTHANI PROVINCE FOR FLOOD MANAGEMENT

Main Article Content

ไททัศน์ มาลา
วลัยพร ชิณศรี
วิไลลักษณ์ เรืองสม

Abstract

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาอุทกภัย (2) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาอุกทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยคณะผู้วิจัยเลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสังเกตการณ์ การประชุมกลุ่ม ศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 7 คน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 คน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี 1 คน บุคลากรจากวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปทุมธานี 5 คน และประชาชน 12 คน โดยเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 5 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเกาะ เทศบาลตำบลบางกะดี เทศบาลเมืองท่าโขลง และเทศบาลนครรังสิต

            ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งด้านการจัดการอุทกภัย โดยวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่และวางแผนการปฏิบัติการช่วงก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังจากเกิดภัย และเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการอุทกภัยในพื้นที่ เนื่องจากมีความชอบธรรมทั้งในด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและในทางปฏิบัติที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด

            แนวทางในการจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ได้แก่

          1. การจัดการปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต้องถือว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการสาธารณะภัย ดังนั้นนโยบายรัฐต้องเร่งผ่องถ่ายอำนาจในการตัดสินใจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในด้านการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็น งบประมาณ อำนาจในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ประตูระบายน้ำ และสนับสนุนให้บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นมืออาชีพในการจัดการสาธารณภัย เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานกับหน่วยงานต่าง ๆ

         2. การลดความเสี่ยงจากอุทกภัยถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการจัดการปัญหาอุทกภัยตั้งแต่ระดับปัจเจกชน ชุมชน จนถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องมีบทบาทในการป้องกันและลดผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ โดยการสำรวจพื้นที่เสี่ยงหรือจุดที่มีความล่อแหลมต่อการเกิดอุทกภัยในชุมชนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมในการรับมือได้อย่างถูกต้อง การเตรียมความพร้อมสำหรับเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการช่วยเหลือประชาชน การที่ประชาชนเกิดการปรับตัวในวิถีการดำรงชีวิตที่ต้องปรับตัวอยู่กับน้ำ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความรู้และการปฏิบัติตัวในเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุอุทกภัย

         3. การมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรใช้โอกาสจากการทำประชาคมอย่างแท้จริงในการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ตลอดจนการรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ จากประชาชน องค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยส่งเสริมการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม การบูรณาการแผนแม่บทชุมชนร่วมกับแผนพัฒนาของท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีทัศนคติต่อการจัดการปัญหาอุทกภัยและสาธารณะภัยต่าง ๆ ว่าจะต้องอาศัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกัน

          4. การบริหารแบบมืออาชีพ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทภาวะความเป็นผู้นำในการนำองค์กรและสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการจัดการปัญหา ทั้งนี้ผู้บริหารท้องถิ่นนอกจากจะต้องมีความชอบธรรมทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานท้องถิ่นโดยเฉพาะในด้านการจัดการภัยพิบัติได้อย่างมืออาชีพ

ABSTRACT

            This article research composes two objectives as follows: (1) to study the roles of local authorities in flood management, (2) to find out the sustainable flood management of local authorities. The researchers studied by qualitative research method including observation, group discussion, documentary and in-depth interview from 30 key purposive sampling informants consisted of 7 Local’s Administrator, 5 Officer’s Local Authorities, 1 Chief of Pathumtani Disaster Prevention and Mitigation Office, 5 Officer of Pathumtani Disaster Prevention and Mitigation Academy and 12 people. The data were collected from five local authorities in Pathumthani Province including Buengchamaor Sub-district Administrative Organization, Tai Kho Subdistrict Administrative Organization, Thakhlong Town Municipality, Bang Kadi Subdistrict Municipality and Rungsit City.

            The research findings were as follow: the local authorities have provided the plan for the disaster prevention and mitigation in terms of flooding management. The procedures are to define and analyze flood-prone areas, to implement the plan as pre-, during- and post-disaster. The flood management should be mainly managed by the local authorities in the area. Because the local authorities had legitimate from the legality and in practice that are closer to the people as possible.

            Recommendations

            1. The flood management in the area should be mainly managed by the local authorities. Therefore, the center government should be decentralized the authorities and decisions to local authorities, for examples, resources and materials purchase, budget allocation as well as authority of water supply and floodgate management are crucially required. Additionally, the local authorities’ personnel should be facilitated to improve the disaster alleviation ability. This aims to enhance the productive management and avoid duplication of various organizations.

            2. The important role of local communities, individuals or even the local authorities should help prevent and reduce the risk from flooding. Such the role mentioned, exploration of flooding-prone area within the communities should be carried out. Then the priority of working procedures and plans should be sequenced regarding to necessity.  Additionally, facilitative resources for flooding and educating people how to live and adapt themselves during the flooding are needed.

            3. Engaging community participation: Public hearing or public discussion forum should be organized to collect community member’s sharing, needs, opinions, problems and recommendations. These can really help improve the local community. Moreover, the local authorities should initiate a participatory budgeting and integrate the community's master plan project with the local development plan. To encourage the participation among the community, people should be motivated the attitude of cooperative network.

          4. Professionalism of the management is required. All administrator team of local authorities play the important role in involving the community members’ participations to obtain the problem-solving of flooding. When obtaining solutions, flexible handling should be carried out aiming to limit all kinds of losses.

Article Details

Section
Research Article