การเสริมสร้างทักษะเมตาคอกนิชันด้วยเทคนิคการสะท้อนความคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ENHANCE METACOGNITIVE SKILLS USING REFLECTIVE THINKING TECHNIQUE BY SOCIAL NETWORK FOR TERTI
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะเมตาคอกนิชันของนักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิตในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาด้วยเทคนิคการสะท้อนความคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่ศึกษาในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลนีสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 131 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครือข่ายสังคมออนไลน์ edmodo 2 ) ข้อคำถามที่ใช้ในการสะท้อนความคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3) แบบประเมินทักษะเมตาคอกนิชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ Dependent t-test
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิตในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาที่เรียนด้วยเทคนิคการสะท้อนความคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีคะแนนทักษะเมตาคอกนิชันก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 61.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.79 ส่วนคะแนนทักษะเมตาคอกนิชันหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 68.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.98 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาที่เรียนด้วยเทคนิคการสะท้อนความคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีคะแนนทักษะเมตาคอกนิชันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purposes of this study were: enhance metacognitive skills using reflective thinking technique by social network. The samples were 131 tertiary students in Educational Innovation and Information Technology Course. The research instruments were: 1) edmodo Social network, 2) metacognition questions for reflective thinking, and 3) metacognitive skill self-assessment form. The descriptive statistics used were mean (), standard deviation (S.D.), and t-test.
The research findings were: tertiary students in educational innovation and information technology course study through reflective thinking technique by social network had pre-test metacognitive skills scores average of 61.93 and the standard deviation level of 8.79. tertiary students In educational innovation and information technology course study through reflective thinking technique by social network had post-test metacognitive skills scores average of 68.71 and the standard deviation level of 9.98.
Tertiary students In educational innovation and information technology course study through reflective thinking technique by social network had post-test metacognitive skills scores higher than pre-test metacognitive skills scores at the .05 level of significance.Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา