ผลการฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเตาะแตะ THE EFFECT OF SELF-CARE PRACTICE ON SELF-CARE BEHAVIOR OF TODDLER
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเตาะแตะที่ได้รับการฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือตนเองในช่วงระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กวัยเตาะแตะชาย - หญิง อายุระหว่าง 2 – 3 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในบ้านต้นกล้าเนอร์สเซอรี่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน ได้มาโดยทำการสังเกตและบันทึกแบบสังเกตพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเตาะแตะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วคัดเลือกเด็กวัยเตาะแตะที่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มตัวอย่าง แบบแผนการวิจัยเป็นแบบสลับกลับ (A-B-A Design) ทดลองสัปดาห์ละ 4 วันวันละ 30 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือตนเองและแบบสังเกตพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเตาะแตะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ(One-way analysis of variance : repeated measure) และ t-test for Dependent Sample
ผลการวิจัย พบว่า เด็กวัยเตาะแตะก่อนการฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือตนเองและระหว่างการฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือตนเองในแต่ละช่วงสัปดาห์มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยเฉลี่ยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงสัปดาห์ พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยเฉลี่ยรวมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ABSTRACT
The purposes of this research were to investigate the changes score level of toddler’s self-care behavior used self-care practice in each week. The subjects were 15 boys and girls in nursery , second semester, academic year 2014 of Banntonkla Nursery, The children were tested with using self-care behavior for toddler’s test. Fifteen children with low scores in using self-care behavior testing were appointed to be the research sample. The sample experienced self-care practice for 10 consecutive weeks, 4 days per week and 30 minutes per day. The research instruments were self-care practice and using self-care behavior for toddler’s test. The data were analyzed by one-way analysis of variance : repeated measure and t-test dependent sample.
The results the research revealed that before and during the self-care practice in each week, the total average scores of toddler’s self-care behavior were different with statistical significance at the level of .01. When analyzing the changes between weeks, it was found that the average scores of their self-care behavior were positively changed with statistical significance at the level of .01
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา