การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 THE DEVELOPMENT OF COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION ON THE TOPIC “SUFFICIENCY ECONOMY” FOR GRADE 4
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา จำนวน 1 ห้อง จำนวน 40 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน ความแตกต่าง คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองจากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองมีค่า = 23.70, S.D. = 1.62
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56, S.D = .10)
ABSTRACT
The purposes of this research were. 1) For the development of computer- assisted instruction on the topic “economic sufficiency” for Grade 4 got the efficiency of 80/80. 2) To compare the achievement of computer assisted instruction on the topic “economic sufficiency” for Grade 4 on social studies religion and culture. 3) To study satisfaction on supplementary exercises on computer assisted instruction on the topic “economic sufficiency” for Grade 4 Malasawanphittaya School in the second semester of academic year 2013. The samples were 40 (Multi-stage Random Sampling). The tools used in this research were: 1) Lesson plan on the topic “economic sufficiency” for Grade 4 5 lessons. 2) The computer assisted instruction on the topic “sufficiency economy” for Grade 4 on social studies religion and culture. 3) Achievement Test on the topic “sufficiency economy” of social studies religion and culture. 4) Questionnaires of satisfaction of computer assisted instruction on the topic “sufficiency economy” for Grade 4. Statistics used to analyze the data were percentage, mean, and statictical hypothesis to analyze the average of the test result, and then one way ANOVA (F-test).
The findings were found below:
1. The computer assisted instruction on the topic “sufficiency economy” for Grade 4 students got the efficiency of 81.47/82.33 highly met the criterion determined 80/80.
2. Achievement by the experimental group after the use of computer assisted instruction on the topic “economic sufficiency” for Grade 4 got higher average of = 23.70, S.D = 1.62.
3. The satisfaction of Grade 4 on the topic “Sufficiency Economy” for Grade 4 on social studies religion and culture got the highest level (= 4.56, S.D = .10).Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา