การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติชุดระบำไก่วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ THE DEVELOPMENT OF TEACHING TECHNIQUE BY INTEGRATING DAVIE’S INSTRUCTION MODEL AND COOPERATIVE LEARNING
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะปฏิบัติท่ารำประกอบการแสดงชุดระบำไก่วิชาดนตรีนาฏศิลป์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของผู้เรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบ Static Group Comparison Design เปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 86 คน กลุ่มทดลองคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 28 คนกลุ่มควบคุมคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบประเมินด้านความรู้เกี่ยวกับการแสดงระบำไก่ แบบประเมินทักษะการร้องเพลง แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์ และ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเปรียบเทียบ Independent Samples t - test
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รูปแบบการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบการแสดงชุดระบำไก่วิชาดนตรีนาฏศิลป์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=1.84, Sig= 0.07)
ABSTRACT
The purposes of this research were to develope teaching technique by integrating davie’s instruction model and cooperative learning model and compare student’s learning achievement for Rabumkai song whilst in traditional Thai music and dance. Static Group Comparison Design was used to collect data from control group and experimental group in primary 5. There are eighty-six people. The experimental group are students primary 5/1.There are twenty-eight people.The control group are student in primary 5/2.There are twenty-nine people. The research instruments were integrating davie’s instruction model and cooperative learning model lesson plans, Assessment of knowledge about show Rabumkai song, assessment of skill for sing, assessment of skill for words dance and assessment of practical skills. Data were analyzed by frequency, Mean, Standard Deviation, and Independent Sample t-test
The results of this research revealed that the achievements of students between experimental group and control group, teaching technique by integrating davie’s instruction model and cooperative learning model, showed no significant different at the .05 level. ( t = 1.84, Sig = 0.07)
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา