การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2DEVELOPMENT OF COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION ON HOMEPAGE DESIGN FOR GRADE 8 STUDENTS

Main Article Content

ชนม์ขนิษฐ์ วิศิษฎ์สมบัติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและกลุ่มที่ไม่ได้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบกลุ่มจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 1 ห้องเรียน และกลุ่มที่ไม่ได้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ 1 ห้องเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนทดสอบด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ ซึ่งมีความเชื่อมั่น 0.65 ทั้ง 2 กลุ่ม และหลังเรียนใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยมีดังนี้

  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.72/83.48 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ไม่ได้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to develop the Computer Assisted Instruction (CAI) with the required efficiency of 80/80, to compare learning accomplishment of the students who learned through CAI and of those did not learn through it, and to find out their satisfaction with CAI on homepage design. The samples were Grade 8 students randomly collected from two classes of Rittiyawannalai School in Saymai District, Bangkok. One class studied through CAI developed by the researcher, while another did not, but followed the lesson plan on homepage design. Before and after learning, they took the learning accomplishment tests with the reliability of 0.65. In addition, after learning their satisfaction with CAI was collected through E1/E2. The statistics employed in this study were mean, standard deviation, and t-test.

The research results revealed that:

1.  The efficiency of CAI was 82.72/83.48. This met the required criteria of 80/80.

2.  The learning accomplishment of the students learning through CAI was significantly higher than those who did not learn through it at the level of 0.05.

3.  Their satisfaction with CAI was found at the highest level.

Article Details

Section
Research Article