การจัดการเรียนการสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย TEACHING AND LEARNING OF INFORMATION SCIENCE IN THAILAND
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) จากหลักสูตร เว็บไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการวิจัยมี 3 ข้อดังนี้ 1) หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีทั้งหมด 34 หลักสูตร ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน 9 สาขาวิชา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 9 หลักสูตร กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 19 หลักสูตร และกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ จำนวน 6 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจำแนกเป็น มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนมี 8 แห่ง มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดสอนมี 7 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปิดสอนมี 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนมี 3 แห่ง 2) โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศ ส่วนใหญ่กำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับตั้งแต่ 31-46 หน่วยกิต (ร้อยละ 52.94) และกำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกตั้งแต่ 22-32 หน่วยกิต (ร้อยละ 29.41) 3) รายวิชาในหลักสูตรที่เกิดจากการสังเคราะห์ทั้ง 3 กลุ่มสาขาวิชา พบว่ามีรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนเหมือนกันอยู่ 9 รายวิชา ได้แก่ (1) วิชาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (2) วิชาการทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ (3) วิชาการบริการสารสนเทศ (4) วิชาการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ (5) วิชาการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ (6) วิชาการจัดการฐานข้อมูล) (7) วิชาการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ (8) วิชาการจัดการองค์กรสารสนเทศ และ (9) วิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพสารสนเทศ
ABSTRACT
This research was aimed at reviewing bachelor’s degree curriculum in information sciences in Thailand. This qualitative research was based on content analysis. Data were obtained from curriculum, websites, and related research papers. The research findings are three folds: 1) There are 34 curriculums offering bachelor’s degree in the area of information sciences in Thailand. These degrees are under different titles based on 3 subject areas namely: 9 degrees of Bachelor of Arts Program in Library and Information Sciences, 19 degrees of Bachelor of Arts in Information Sciences, and six degrees of Information Management. With regard to types of the universities, it was observed that there are eight government universities, 7 autonomy universities, 16 Rajabhat universities, and three private universities offering the courses. 2) In most universities, their curriculum structures regulate that the students have to earn about 31-46 credits for compulsory subjects (52.94%), and it is 22-32 credits for the selective subjects (29.41%). 3) Across the three subjects areas, there are nine subjects that all the universities have in common, namely; (1) Information Resource Development, (2) Cataloging Information Resources, (3) Information Services, (4) Organization of Information Resources, (5) Information Storage and Retrieval, (6) Data Base Management, (7) Researches in Information Sciences, (8) Management of Information Organizations, and (9) English for Information Profession.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา