การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบการเรียนรู้ โดยสร้างเรื่องที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 A COMPARISON OF LEARNING MANA

Main Article Content

วสันต์ ผ่องปัญญา
สุภัทรา คงเรือง
แสน สมนึก

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความภูมิใจในตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยการสุ่ม 2 ห้องเรียนจากทั้งหมด 10 ห้องเรียนแล้วนำมาสุ่มแยกเป็นกลุ่มทดลอง 1 จำนวน 45 คน จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ และกลุ่มทดลอง 2 จำนวน 45 คน จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่อง ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้  แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่อง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามวัดความภูมิใจในตนเอง ตรวจสอบสมมติฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ และทดสอบความเหมือนของเมทริกซ์ค่าแปรปรวนร่วม ด้วยวิธีของ Box’s M Test

          ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่องแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่อง

2. ความภูมิใจในตนเองในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ มีความภูมิใจในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างเรื่อง

 

ABSTRACT

The purposes of research were a comparison of learning results, social studies, religion and culture department between 4 MAT learning cycle model and story line model affect to learning achievement and self - esteem of students in Mattayom Suksa 3. Sampling groups were students in Mattayom Suksa 3 at Suankularbwittayalai Nonthaburi School in the first semester of 2013 academic year by random sampling two classes from ten classes. The first experimental group with 45 students was taught by 4 MAT learning cycle model and the second experimental group with 45 students was taught by story line model. They took 20 hours. The instruments of research were 4 MAT learning cycle model plan and story line model plan. The learning achievement test and questionnaire measure of self-esteem with computer program were processed analysis of MANOVA and tested the similarities of the covariance matrix by Box’s M test methods.

          The results of this research were as follows:

1. The learning achievement of history of Matthayomsuksa 3 students taught by 4 MAT and Storyline approach was different statistically significant at .01 level.  The learning achievement of students taught by 4 MAT was higher than students taught by Storyline approach.

2. The self-esteem in learning history of Mattayomsuksa 3 students taught by 4 MAT and Storyline was different statistically significant at .01 level. The self-esteem of students taught by 4 MAT was higher than students taught by Storyline approach.

 

Article Details

Section
Research Article