ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี FACTORS AFFECTING TOWARDS PUBLIC MIND OF UBON RATCHATHANI RAJABHAT UNIVERSITY’S STUDENTS
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษา และ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์จิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2555 ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด มีความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 99 ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 1 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.952 นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสร้างสมการณ์พยากรณ์โดยใช้ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. จิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสัมพันธ์กับปัจจัยด้าน การเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้กับผู้อื่น (X2, r = 0.893) ปัจจัยด้านอาจารย์และเพื่อน (X4, r = 0.886) ปัจจัยด้านครอบครัว (X3, r = 0.823) ปัจจัยด้านอัตมโนทัศน์ (X1, r = 0.793) และปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม (X5, r = 0.709) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์จิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรี คือ ปัจจัยด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้กับผู้อื่น (X2) ปัจจัยด้านอาจารย์และเพื่อน (X4) ปัจจัยด้านครอบครัว (X3) ปัจจัยด้านอัตมโนทัศน์ (X1) ปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม (X5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.998 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.996 คิดเป็นร้อยละ 99.6 เขียนเป็นสมการพยากรณ์จิตสาธารณะของนิสิต ระดับปริญญาตรีในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
สมการในรูปคะแนนดิบ
Y = -0.150 + 0.248(X2) + 0.258(X4) + 0.188(X3) + 0.181(X1) + 0.167(X5)
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zy = 0.280(X2) + 0.307(X4) + 0.222(X3) + 0.223(X1) + 0.161(X5)
ABSTRACT
The purpose of this research were to 1) examine the factors affected public mind of Rajabhat university students and 2) to construct a predictive equation of public mind of Rajabhat university students. The sample consisted of 400 undergraduate students at Rajabhat university, which enrolled in the semester of the academic year 2012. The sample was randomized by using proportional stratified random sampling method, and then selected the sample by using the simple random sampling method. Therefore, data was collected by 400 questionnaires. The questionnaire reliability was .952 at 99 percent level of confident and at 1 percent of error. The statistics were use in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), Pearson product-moment correlation coefficient (rxy) and stepwise multiple regression. Finally, the predictive equation was constructed by the significance variable from stepwise multiple regression analysis.
Finding are as follows:
1.The students’ public mind and the factor self-learning and learning with each other (X2, r = 0.893) factors, teachers and friends (X4, r = 0.886), family factors (X3, r = 0.823), the factor of self-concept (X1, r = 0.793) and socialization factors (X5, r = 0.709) which were positively related at the .01 level of significance.
2. The factors could predict the students’ public mind, included : the factor self-learning and learning with each other (X2) factors, teachers and friends (X4), family factors (X3), the factor of self-concept (X1), and socialization factors (X5) respectively. These factors had a correlation coefficient of 0.998 at the .01 level of significance with a predictive power at 99.8 percent. The predictive equation of students’ public mind was able to be constructed in the raw score form and standard form as below :
Formulated in the raw score
Y = - 0.150 + 0.248 (X2) + 0.258 (X4) + 0.188 (X3) + 0.181 (X1) + 0.167 (X5).
Formulated in the standard
Zy = 0.280 (X2) + 0.307 (X4) + 0.222 (X3) + 0.223 (X1) + 0.161 (X5).
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา