การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจ และความคาดหวังของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเกี่ยวกับงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศไทย PARTICIPATION, SATISFACTION, AND EXPECTATION OF THE PEOPLE IN THE BANGKOK METROPOLITAN TOWARD THE OFFICE OF

Main Article Content

ชวัลลักษณ์ คุณาธิกรกิจ

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม ความพึงพอใจ และความคาดหวังของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเกี่ยวกับงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบของการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 805 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การคำนวณหาค่าการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยสืบค้นงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำหรับผู้ที่เคยสืบค้นงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสืบค้นจาก Website คือ Google มากที่สุด รองลงมา คือ ห้องสมุดในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย โดยเคยสืบค้นงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมากที่สุดเกี่ยวกับข้อมูลผลงาน/ชิ้นงาน รองลงมา คือ ข้อมูลศิลปิน มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ นอกเหนือจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำหรับกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐ/เอกชน/ชมรม/ เครือข่าย/ชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีโอกาสเข้าร่วมในหนึ่งปีที่ผ่านมามากที่สุด คือ การเข้าชมหรือร่วมกิจกรรมของ Gallery รองลงมา คือ กิจกรรมของภาครัฐ/เอกชน สำหรับเหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเนื่องมาจากความชอบส่วนตัวมากที่สุด รองลงมา คือ เพื่อนชวนไป ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เคยเข้าร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ด้านความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากสูงสุด รองลงมา คือ รูปแบบกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุด คือ การให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามประมาณร้อยละ 40 ไม่เคยได้ยิน/ฟัง/อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ขณะที่กว่าร้อยละ 30 เคยได้ยิน/ฟัง/อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ สศร. และประมาณร้อยละ 20 ไม่แน่ใจว่าเคยได้ยิน/ฟัง/อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ สศร. โดยผู้ที่รู้จัก สศร. รู้จักจากรายการโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมา คือ การรู้จัก สศร. จากครู/ อาจารย์ และน้อยที่สุด คือ การรู้จัก สศร. จากจดหมายข่าว ทั้งนี้ มากกว่าร้อยละ 80 ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมของสศร. สำหรับผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมของ สศร. เคยเข้าร่วมนิทรรศการแสดงผลงานต่างๆ มากที่สุด รองลงมา คือ ตลาดนัดศิลปะ (Art Street) และน้อยที่สุด คือ Ruamsmai Big Band (ร่วมสมัย บิ๊กแบนด์) ทั้งนี้ ในส่วนของความพึงพอใจต่อคุณภาพการดำเนินงานหรือการให้บริการของ สศร. ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความความพึงพอใจต่อการมีความชัดเจนของการให้บริการงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอยู่ในระดับมากสูงสุด สำหรับ ความคาดหวังต่อ สศร. ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคาดหวังต่อ สศร. ในการเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ศิลปินผนึกกำลังทางปัญญาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานอยู่ในระดับมากสูงสุด

 

ABSTRACT

This research aimed to study the participation, satisfaction and expectation of the people in the Bangkok Metropolitan toward the Office of Contemporary Art and Culture on the work of art and contemporary culture in Thailand. The quantitative research was applied with using the survey methodology. Questionnaire was used to collect the data from 805 samples in the Bangkok Metropolitan. The data processing was done by the computer program.  The statistics approach used for the data analysis was the descriptive statistics including frequency, percentage, mean () and standard deviation (S.D.).

The results showed that most respondents had never searched for the works of art and contemporary culture.  The ever respondents had searched mostly from the website which was Google.  The following was the school or university’s library.  They had searched mostly for art and contemporary culture artworks and the artists’ information. Moreover, more than 80 percent of respondents had never participated in art and contemporary culture activities organized by the other agencies besides OCAC.  For activities of agencies (public/private/community/ network/community) related to art and contemporary culture the respondents had the opportunity to participate in the last one year mostly was the visit or participation in the art gallery activities, followed by the public/ private agencies activities. The reason of participating in the art and contemporary culture activities was mostly the personal preferences, followed by friends’ persuasion. The respondents who participated were satisfied with their participated art and contemporary cultural activities in the overall at the high level. The most satisfaction was the knowledge gained from participating at the high level, followed by the activity patterns of art and contemporary culture which also was at the high level. And the least satisfaction was the staff providing information at a high level. Approximately 40 percent of respondents had never heard/listened/read about the Office of Contemporary Art and Culture (OCAC). More than 30 percent of respondents had ever heard/listened/read about OCAC while approximately 20 percent of respondents were not sure either had never or ever heard/ listened/ read about OCAC. For those who knew OCAC had known mostly from the television program, followed by teacher/ instructor.  The least of knowing OCAC was form the newsletters.  More than 80 percent of respondents had never participated in the OCAC activities.  Respondents who had ever participated had attended mostly the art exhibitions, followed by the Art Street. The least was the participation on the Ruamsmai Big Band. The result also showed the overall satisfaction with OCAC performances or quality of services was at the high level. The highest level of the satisfaction was the OCAC’s clear preference for the services in several aspects related to art and contemporary culture. The overall expectation toward OCAC was also at the high level. The highest level of the expectations was OCAC acting as the agency encouraging artists to cooperate their Intellectuals for creating their artworks.

Article Details

Section
Research Article