ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง FACTORS EFFECTING SUSTAINABLE ECO-TOURISM OF KOH-CHANG

Main Article Content

ดำรงชัย ชีวะสุขะ
สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล
ติน ปรัชญพฤทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยผลักและปัจจัยดันที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง 2) ศึกษารูปแบบจากปัจจัยผลักและปัจจัยดันที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง และ 3) เพื่อสังเคราะห์ได้รูปแบบจากปัจจัยผลักและปัจจัยดันที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะช้างตามยุทธศาสตร์ของโครงการ Low Carbon Destination การวิจัยนี้ใช้การวิจัยค่าแบบผสมผสานด้วยวิธีการดำเนินวิธีวิจัยแบบผสานวิธีทั้งแบบคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีบุคคลที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน รวมทั้งการสนทนากลุ่มกับ 8 กลุ่มพันธมิตร กลุ่มละ 12 คน และวิธีการเชิงสำรวจ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยผลักและปัจจัยดันที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง สรุปประเด็นได้เป็น 4 ด้าน คือ 1) ปัจจัยผลัก พิจารณาในแง่มุมของการสื่อสารด้านข้อมูลเพื่อส่งเสริมปัจจัยผลักด้วยการสื่อสารโฆษณาเพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้าสู่การสร้างแบรนด์ในลักษณะรายเดือน 2) ส่วนปัจจัยดันพิจารณาในแง่มุมของการใช้การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ 3) สร้างประสิทธิภาพแห่งความเป็นรูปธรรมด้วยการจัดการตลาด ตลอดจน 4) ดึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและตามเกณฑ์สมรรถนะของผู้ประกอบการ 6 มาตรฐานขององค์การท่องเที่ยวโลก และนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพข้างต้นมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบเชิงกระบวนทัศน์ในยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการรณรงค์สร้างภาพลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง  ซึ่งเรียกว่า “GOOD GREEN” หรือเขียวขจีที่ดี พบว่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

 

ABSTRACT

The research had objectives as follows: 1) to study push and pull factors affecting sustainable eco-tourism of Koh-Chang, 2) to study the guideline model from push and pull factors affecting sustainable eco-tourism of Koh-Chang, and 3) to synthesize guideline model from push and pull factors for launching campaign enhancing of Project Strategy of Low Carbon Destination of the Special Administrative Development Unit for Sustainable Tourism. This research applied qualitative research method by carrying out in-depth interview with key informants for totaling 10 persons and also applied focus group research method with 8 groups by purposive sampling of 12 persons per each group from 8 alliance groups. The quantitative research method conducted survey research where sample group of 450.

From the results of qualitative research by in-depth interview, it showed that the push factors and the pull factors affecting sustainable eco-tourism of Koh-Chang, it was addressed to be tangible consisting of 4 concrete framework; 1) push factors enhancing informative communication for promoting of advertising communication for creating tourist experiences to build monthly brand;  2) pull factors implementing in public relations communication for attractive image construction and brand; 3) efficiency construction of marketing management; and 4) environmental management and World Tourism Organization criteria standard for tourism entrepreneur. The researcher then examined the model guideline for launching campaign Sustainable Tourism image of Koh-Change based on the result of “GOOD GREEN” and found that the opinion of sample group in the overall perspective was at the most agreement level with the mean of 3.40.

Article Details

Section
Research Article