รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น MODEL OF HIGH PERFORMANCE SCHOOL ADMINISTRATION UNDER LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ 2) พัฒนารูปแบบการ 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความรู้ แนวคิดทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบศึกษาเอกสาร มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบโดยศึกษาภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 3.1) การตรวจสอบรูปแบบเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC อยู่ระหว่าง .80-1.00 3.2) การตรวจสอบรูปแบบเชิงปริมาณ โดยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 152 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC อยู่ระหว่าง .80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น .97 ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบฉบับที่สมบูรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีองค์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย 1.1 หลักการ 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 บริบท ส่วนที่ 2 ตัวแบบ มี 3 มิติ ประกอบด้วย 2.1 วิธีการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การขีดสมรรถนะสูง 2.2 องค์ประกอบองค์การขีดสมรรถนะสูง 2.3 อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขข้อจำกัด ประกอบด้วย 4.1 เงื่อนไขความสำเร็จ 4.2 เงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค
2. ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการตรวจสอบ 2 ขั้นตอน 2.1 การตรวจสอบเชิงคุณภาพโดยรวมพบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความถูกต้องอยู่ในระดับมากทีสุด 2.2 การตรวจสอบร่างรูปแบบเชิงปริมาณโดยรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.62 , S.D. = .24) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61 , S.D. = .09) ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (= 4.28 , S.D. = .15) ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.73 , S.D. = .10) และด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากทีสุด (= 4.84 , S.D. = .13)
ABSTRACT
The objectives of this research were to 1) study the components of model 2) develop model 3) investigate model 4) propose model of High Performance School Administration under Local Administrative Organization. The research was divided into 4 phases, including Phase 1: Study conceptual knowledge, theory and related documents. The research instrument used was a documentary examination form with IOC at 1.00. Phase 2: Develop a model using field studies with 3 schools under Local Administrative Organization. The key informant were 3 school administrators selected by purposive sampling. The research instrument used was semi-structured interview with IOC at 1.00. Phase 3: The model investigation which was divided into 2 stages. 1) Qualitative investigation of a model using focus group with 9 experts selected by purposive sampling. The research instrument was a questionnaire with IOC between .80-1.00. 2) Quantitative investigation of a model using 152 school administrators by multistage random sampling. The research instrument used was a questionnaire with Index of Consistency (IOC) between .80-1.00 and reliability at .97. Phase 4: Improve and propose an appropriate model. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation and the data analysis by content analysis.
The research results were as follows:
1. Model of High Performance School Administration under Local Administrative Organization consisted of 4 components. Part 1: Introduction, with 1.1 principles, 1.2 Objectives, 1.3 context, Part 2: A model, with 3 dimensions; 2.1 the school administration to be high performance organization, 2.2 The components of high performance organization, 2.3 Authority of schools, Part 3: Model implementation, Part 4: Restriction conditions, with 4.1 successful conditions, 4.2 barrier conditions.
2. The investigation results 2 stages; The qualitative investigation found that; Model of High Performance School Administration under Local Administrative Organization as a whole found at a highest level: the utility were at highest level, the feasibility at high level, propriety at highest level, the accuracy at highest level. The quantitative investigation found that; Model of High Performance School Administration under Local Administrative Organization as a whole found at a highest level (=4.62 , S.D. = .24) : the utility were at highest level (= 4.61 , S.D. = .09), the feasibility at high level (= 4.28 , S.D. = .15), propriety at highest level (= 4.73 , S.D. = .10) , the accuracy at highest level (= 4.84 , S.D. = .13).
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา