บทบาทของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์ ROLE OF PUBLIC RELATIONS MEDIA TOWARDS THE DECISION-MAKING OF CONTINUING STUDY OF FRESHMAN YEAR STUDENTS
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทบาทของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์ 2) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี วิทยาลัย ราชพฤกษ์ 3) เพื่อศึกษาการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยราชพฤกษ์ จำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุ (multiple regression analysis)
ผลการทดสอบสมมุติฐานได้ดังนี้
1. เพศที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีวิทยาลัยราชพฤกษ์ ในเรื่องข้อมูลการเดินทางจากสื่อประชาสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ระบบการศึกษาของนักศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในเรื่องเห็นภาพอาคารสถานที่ในวิทยาลัยจากสื่อประชาสัมพันธ์ ทราบมาจากนักศึกษาที่กำลังเรียนว่าคณาจารย์ดูแลเอาใจใส่ดี และมีการจัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับนักศึกษาใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. สาขาวิชาของนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในเรื่องเห็นภาพห้องเรียนและบรรยากาศการเรียนการสอนจากสื่อประชาสัมพันธ์ เห็นบุคลิกคณาจารย์จากสื่อประชาสัมพันธ์ มีความเชื่อมั่นในทีมผู้บริหารวิทยาลัย มีบริการด้านเงินกู้เพื่อการศึกษา มีการประชาสัมพันธ์ถึงทุนการศึกษา มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์วิทยาลัย เพื่อนๆ มาเรียนที่วิทยาลัยแนะนำให้มาเรียนด้วยกัน ครูอาจารย์ที่สถาบันเดิมแนะนำให้มาเรียนที่นี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. อาชีพผู้ปกครองของนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในเรื่องเห็นภาพอาคารสถานที่ในวิทยาลัยจากสื่อประชาสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. รายได้เฉลี่ยครอบครัวของนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ซึ่งทราบจากสื่อประชาสัมพันธ์ถึงตำแหน่งที่ตั้งของวิทยาลัย และเห็นภาพอาคารสถานที่ในวิทยาลัยจากสื่อประชาสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุ พบว่า การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
Role of public relations media towards the decision-making of continuing study of freshman year students in Ratchaphruek College are 1) to study the personal individual’s factor towards the decision-making of continuing study of freshman year students in Ratchaphruek College 2) to study the exposure on public relations media towards the decision-making of continuing study of freshman year students in Ratchaphruek College 3) to study perception on public relations media towards the decision-making of continuing study of freshman year students in Ratchaphruek College. The samples in this study composed of 372 students. The instrument tool was the Questionnaire forms. The data was analyzed by using means, standard deviation and multiple regression analysis.
The result of testing hypothesis was;
1. There was the difference between sexes in term of commutation information from public relations media at .05 level of significant.
2. There was the difference between Ex-school in terms of seeing the building and area from public relations media, having known from the student that lecturers here are well taking care, and special promotion for new student at .05 level of significant.
3. There was the difference between different majors in term of seeing the classroom and academic environment from publish relations media, seeing the lecturer’s, having a confident on management team, having a loan for students, having publish relation about loan, having advertisement for Ratchaphruek College, introducing from the student, teacher from the old school was recommended at .05 level of significant.
4. There was the difference between parents’ occupation in term of seeing the building and area from public relations media at .05 level of significant.
5. There was the difference between parents’ income in term of location of the Ratchaphruek College and seeing the building and area from public relations media at .05 level of significant.
The results of testing multiple regression analysis were found that the open-minded of public relation media had a positive relationship to decide continuing study in bachelor’s degree level at .05 level of significant and the perception of public relation media had a positive relationship to decide continuing study in bachelor’s degree level at .05 level of significant
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา